ระบบการจัดการพลังงาน
การอนุรักษ์พลังงานให้เกิดผลอย่างจริงจังและมีผลอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องวางระบบในการดำเนินงานที่เหมาะสม และปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องด้วยความตั้งใจ เข้าใจ สนใจ และร่วมใจกันทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงไป พร้อมทั้งกำหนดแผนงาน เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ตลอดไป ผลประโยชน์ของการจัดการด้านพลังงานแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 2 ประเภทด้วยกันคือ ผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ทางอ้อมหรือผลข้างเคียง โดยกลยุทธ์ในการบริหารพลังงานในหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมีแนวทางดังนี้คือ ต้องมีนโยบายที่แน่นอน ต้องมีคนหรือผู้รับผิดชอบ จะต้องกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ การติดตามผลการดำเนินงาน ต้องมีการเตรียมการ เก็บข้อมูล ประเมินผล การทำงานเก็บข้อมูลรายละเอียดของผลที่ได้รับจริง ๆ เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
ปกติมนุษย์เรามักจะหาความสะดวกสบายใส่ตัว โดยไม่ได้คำนึงถึงปัญหาส่วนร่วม หรือวิกฤต ของส่วนรวม ของประเทศชาติ หรือของโลกมากนัก ถ้าไม่มีเหตุการณ์บังคับ หรือมีสัญญาณเตือนภัย ความเดือนร้อนจะมาถึงตัวแล้วจึงมีความคิดในการปรับปรุงแก้ไข เช่นเดียวกับพลังงานเมื่อก่อนนี้ใช้กันได้ตามสบายเหลือเฟือ เพราะทรัพยากรมีมากมาย และผู้คนหรือประชากรโลกก็ยังมีปริมาณไม่มากนัก แต่หารู้ไม่ว่าปริมาณประชากรหรือผู้ต้องการพลังงานกับแหล่งพลังงาน หรือปริมาณของพลังงานนั้น มันเดินส่วนทางกันอยู่ จะเห็นได้ว่าปริมาณพลังงานโลกลดลงหรือเหลือน้อยลงทุกวัน ตรงกันข้ามประชาการโลก หรือผู้ใช้พลังงานเพิ่มขึ้นทุกวัน เมื่อถึงจุดหนึ่ง จะต้องเกิดการขาดแคลนหรือวิกฤตพลังงานอย่างแน่นอน
หลักการบริหารจัดการด้านพลังงาน Concept of Energy Management
การที่จะบริหารและจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานให้เกิดผลอย่างจริงจัง และมีผลอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องวางระบบในการดำเนินงานที่เหมาะสม และปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องด้วยความตั้งใจ เข้าใจ สนใจ และร่วมใจกันทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงไป ซึ่งเป็นผู้ที่จะวางนโยบายและเป้าหมาย การมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ พร้อมทั้งกำหนดแผนงาน เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ตลอดไป โดยกลยุทธ์ในการบริหารพลังงานในหน่วยงานต่างๆ มีดังนี้
§ มีนโยบายที่แน่นอน
§ แผนปฏิบัติที่ชัดเจน
§ ผู้รับผิดชอบ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
- การติดตามผลการดำเนินงาน
- ต้องมีการเตรียมการเก็บข้อมูล
- เก็บข้อมูลรายละเอียดของผลที่ได้รับจริงๆ
- ประเมินผล และนำไปเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
องค์ประกอบในการบริหารและจัดการที่จะทำให้เกิดผลจริง ๆ นั้น จำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบโครงการที่มีความรู้และความเข้าใจในการอนุรักษ์พลังงานอย่างแท้จริง พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้และทัศนคติต่าง ๆ สู่บุคคลอื่นทุก ๆ คนที่อยู่ในองค์กร เพราะการอนุรักษ์พลังงานมิใช่จะให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ เป็นหน้าที่ร่วมของทุกคนในองค์กรนั้น ถ้าหากขาดความเข้าใจอันถูกต้อง ขาดความร่วมมืออย่างจริงจังแล้ว ยากที่จะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้
ความรู้ที่จะนำมาใช้ในการอนุรักษ์พลังงานนี้จะต้องมีความรู้ทางทฤษฎีในด้านพลังงานต่าง ๆ เป็นอย่างดี นอกจากนั้นต้องรู้จักการนำไปปฏิบัติให้ถูกตามขั้นตอนและในโอกาสที่เหมาะสมด้วย จึงจำเป็นที่คณะหรือผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องเป็นผู้เสียสละ หาหนทางหรือแนวร่วม รวมทั้งเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ให้ทุก ๆ คนเกิดความเข้าใจและให้ความร่วมมือถือปฏิบัติอย่างถูกต้อง และเกิดจิตสำนึกในทางที่ดีในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป
นอกจากนั้นแล้วในการทำการจัดการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องดังกล่าว จะต้องมีความพร้อมและมีความคล่องตัวในการที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตนเองหรือผู้เกี่ยวข้องให้สู่การปรับปรุงแก้ไขตามกลไกของอิทธิพลพลังงานโลก หรือทรัพยากรของโลกที่จะมีความวิกฤตตามเวลาหรือเหตุการณ์ของโลก ซึ่งในบางขณะอาจจำเป็นต้องอนุรักษ์พลังงานในรูปแบบหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งและในบางขณะอาจจะแปรผัน การอนุรักษ์พลังงานรูปอื่นในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการอนุรักษ์นี้นอกจากจะเป็นศาสตร์หนึ่งแล้วในเชิงการปฏิบัติจริง ๆ จะต้องมีเชิงศิลปะมาเกี่ยวข้องเพราะการอนุรักษ์มีมนุษย์เกี่ยวข้องอยู่ จำเป็นต้องมีศิลป์ในการจูงใจ หรือเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง จะใช้ระบบหรือกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งถือปฏิบัติตายตัวอยู่ตลอดไปไม่ได้
การบริหารหรือจัดการด้านพลังงานเป็นงานที่จำเป็นต้องทำในองค์กร อย่างเป็นทีมงาน ทุกคนต้องเกี่ยวข้องและให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง และผลประโยชน์จะเกิดขึ้นแก่ส่วนร่วมของคนในองค์กรมีส่วนได้รับผลประโยชน์นั้น ๆ แต่บางคนหรือบางกลุ่มอาจจะได้ผลกระทบบ้างต่าง ๆ กัน เช่น ว่าบางคนอาจจะต้องลดความสะดวกสบายลงบ้าง บางคนอาจจะถูกกระทบมาก บางคนอาจจะกระทบน้อย หรือบางคนอาจจะไม่ได้รับการกระทบอะไร แต่ที่แน่นอนคือผลเกิดกับองค์กร การอนุรักษ์พลังงานเป็นการประหยัดต้นทุนการผลิต (Cost Saving) ซึ่งการประหยัดเป็นกำไร 100% คือประหยัดเท่าไรจะได้เท่านั้นและผลประโยชน์นี้เกิดแก่องค์กร คือเป็นผลประโยชน์ของทุก ๆ คนนั่นเอง
การบริหารและการจัดการอนุรักษ์พลังงานไม่เพียงแต่การทำผลประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรเท่านั้น ยังเป็นการทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติเพราะพลังงานต่าง ๆ เป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจของประเทศชาติจะดีหรือเลวลง เพราะพลังงานต่าง ๆ เป็นค่าใช้จ่ายหรืองบดุลการค้าของประเทศชาติ การสร้างพลังงาน หรือวัตถุดิบในการแปลงพลังงานต่าง ๆ เป็นเงินทองที่ประเทศชาติต้องใช้จ่าย กำหนดใครใช้พลังงานไม่เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ก็เปรียบเหมือนว่าเราทิ้งให้เสียโดยเปล่าประโยชน์ ค่าใช้จ่ายหรือเงินที่ผลิตพลังงานก็ได้ประโยชน์กลับคืนมา และพลังงานบางอย่างต้องซื้อมาจากต่างประเทศอีก
ประโยชน์การจัดการด้านพลังงาน (Benefit of energy management)
การบริหารงานทุกอย่างถ้าหากมีการดำเนินการอย่างถูกต้อง เป็นขั้นเป็นตอน เป็นไปตามแผนที่วางไว้ย่อมก่อให้เกิดผลดีอย่างแน่นอน เช่นการอนุรักษ์พลังงานก็เช่นเดียวกัน การอนุรักษ์มิใช่การห้ามใช้ หรือไม่ให้ใช้ แต่การอนุรักษ์ คือ การใช้งานอย่างคุ้มค่า การใช้งานคุ้มค่าก็คือผลประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งสามารถแบ่งผลประโยชน์ของการจัดการด้านพลังงานออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 2ประเภทด้วยกันคือ ผลประโยชน์โดยตรง (Direct benefit) และ ผลประโยชน์ทางอ้อม (ฺBy product) หรือผลข้างเคียง (Side effect)
1 ผลประโยชน์ของการจัดการด้านพลังงานโดยตรงมีอยู่ 3 ระดับ คือ
1.1 ผลประโยชน์ในระดับองค์กร (Organizing benefit)
ผลประโยชน์ในระดับองค์กร คือผลประโยชน์ที่องค์กรนั้น ๆ ได้ทำโครงการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ในการผลิตสินค้า หรือการบริหารธุรกิจนั้น ๆ การอนุรักษ์พลังงานคือการประหยัดใช้ ผลของการประหยัดใช้ คือการทำกำไรเต็มมูลค่า คือ 100% กล่าวคือ ปกติถ้าไม่มีการอนุรักษ์หรือไม่ทำการประหยัด ส่วนนั้นก็เป็นส่วนเกินของการใช้ประโยชน์ ซึ่งถูกทิ้งเสียหายไปโดยไร้ประโยชน์ การประหยัดก็คือการป้องกันมิให้เสียหายไป ยังคงเก็บรักษาไว้ใช้เป็นประโยชน์ได้ คือการได้มาอย่างที่เรียกว่า ไม่ได้ลงทุนลงแรง คือได้เปล่า ๆ นั้นนั่นเอง
การประหยัดพลังงานจะบังเกิดผล ผลโดยตรงก็คือพลังงานเป็นปัจจัยของการดำเนินการผลิตและธุรกิจอื่น ๆ การประหยัดพลังงานก็คือการลดตนทุนการผลิตอย่างหนึ่ง (Output cost reduction) การลดต้นทุนการผลิต เน้นการกำหนดราคาสินค้า ซึ่งมีกระแสการแข่งขันอย่างรุนแรงในส่วนแบ่งการตลาด ผู้ที่สามารถทำต้นทุนการผลิตขึ้นก่อนย่อมจะได้เปรียบในการแข่งขันในส่วนแบ่งการตลอดอย่างแน่นอน
นอกจากนั้นกำหนดมีการบริหารและจัดการด้านพลังงานอย่างมีระบบที่ดี มีกระบวนการที่รัดกุมที่แน่นอนแล้ว ยังจะทำให้เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการผลิตกับการใช้พลังงานได้ คือจะรู้ได้ว่าผลผลิตนี้หน่วยหนึ่งต้องใช้พลังงานเท่าไร เป็นมาตรฐานบ่งชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการผลิต เมื่อไรก็ตามเมื่อมีการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตเพิ่มขึ้นก็แสดงว่า ประสิทธิภาพการผลิตต่ำลงจำเป็นต้องวิเคราะห์หาสาเหตุ ปรับปรุง แก้ไข
1.2 ผลประโยชน์ในระดับประเทศชาติ คือในภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องอาศัยพลังงานจากส่วนกลางหรือรัฐ แม้แต่การดำเนินธุรกิจบางอย่างสามารถจะทำการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เอง แต่เชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในการผลิตนั้น ก็ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ เครื่องจักรอุปกรณ์ก็สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ การที่ใช้พลังงานอย่างประหยัด หรือใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็จะเป็นการประหยัดเงินตรา ที่จ่ายออกไปต่างประเทศได้ เป็นการลดการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ นั่นคือเป็นการรักษาเศรษฐกิจประเทศชาติให้ดีขึ้น
นอกจากนั้นยังช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานในประเทศอีกด้วย ประเทศไทยยังมีพลเมืองที่มีมาตรฐานการเป็นอยู่ต่างกันมาก รัฐไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือและบริการให้ความสะดวกได้ทั่วถึง ยังมีพลเมืองที่มาตรฐานการเป็นอยู่ต่ำมาก ๆ ยังต้องการพลังงานเหล่านั้นอยู่ แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มที่มีมาตรฐานการเป็นอยู่ดีเพียบพร้อมด้วยความสะดวกสบาย ก็ใช้พลังงานบริการความสะดวกให้แก่คนเองและพวกพร้อง อย่างสะดวกสบายและเหลือเฟือ ถ้าหากช่วยกันประหยัดคนละเล็กละน้อยก็สามารถแบ่งปันให้เพื่อนร่วมชาติเราได้มีโอกาสได้รับส่วนแบ่งพลังงานเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่เขาเหล่านั้นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างมหาศาล
1.3 ผลประโยชน์โดยรวมของโลก เนื่องจากประชากรในโลกมีมากเพิ่มขึ้นทุกวันและรวดเร็ว แต่ถ้าคิดดูให้ดีแหล่งพลังงานยังมีเท่าเดิม มีแต่วันจะหาแหล่งพลังงานที่มีอยู่จำกัดเองขึ้นมาใช้กันอยู่ตลอดเวลา กำหนดช่วยกันใช้พลังงานตามสบาย ใช้ทิ้งใช้ขว้าง ปล่อยทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่รู้จักประหยัด ค่อย ๆ ใช้ สักวันหนึ่งพลังงานในโลกนี้จะต้องหมดลงอย่างแน่นอน การถ้ากว่า รู้จักประหยัด รู้จักใช้ให้พอเพียง ก็สามารถยืดเวลาการหมดหรือการขาดแคลนเชื้อเพลิงลงได้
ถ้าเรามาคิดให้ไกลหรือเปิดใจกว้างดูตามความเป็นจริงแล้ว ในขณะที่เรียกว่า ยังพอมีพลังงานในโลกนี้อยู่ ยังมีการแก่งแย่งรบราฆ่าฟันกันเพื่อแย่งพลังงาน ถ้าหากพลังงานขาดแคลนลงไม่ต้องถึงกับหมดเกลี้ยง สภาพการเป็นอยู่ในโลกนี้จะต้องเดือดร้อนไปทุกหัวระแหง เนื่องจากแย่งพลังงานกัน ผู้มีอำนาจ ผู้มีกำลัง ผู้มีอาวุธ หรือเก่งกว่าย่อมจะขับไล่ ทำลาย หรือฆ่าผู้ด้อยกว่าเพื่อตนเองจะได้พลังงานเหล่านั้นมาใช้เพื่อบริการความสะดวกสบายแก่ตนเอง นั่นคือ จะต้องเกิดสงครามแย่งพลังงานขึ้นในโลกนี้ เมื่อเกิดสงครามพลังงานโลก ใครจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างสงบ สันติสุข การอนุรักษ์และการประหยัดพลังงานโดยการจัดการอย่างมีระบบและถูกต้องนี้จะยืดการใช้ทรัพยากรพลังงานของโลกให้ยืนยาวไปได้ เป็นการป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง หรือเหตุร้ายในการแย่งพลังงานเกิดขึ้นในโลกได้
2 ผลประโยชน์ทางอ้อม (ฺBy product) หรือผลข้างเคียง (Side effect)
ผลประโยชน์ในการจัดการด้านพลังงาน ที่เราสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยตรง แล้วผลที่ออกมาย่อมจะมีผลกระทบอันอื่นเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นผลทางอ้อม หรือผลข้างเคียงก็ได้ ซึ่งเราต้องไม่ลืมว่าพลังงานที่ใช้อยู่บางอย่างก็มาจากสสาร บางอย่างที่เป็นพลังงานแล้ว ก็จะเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การประหยัดพลังงานก็จะเกิดประโยชน์ทางอ้อมได้ หรือเกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งจะจำแนกเป็น 4 อย่าง คือ การรักษาสภาพแวดล้อม (Environment control) การพัฒนาบุคลากร(Personal development) การรักษาประสิทธิภาพของเครื่องจักร (Machinery efficiency maintaining) และการทำชื่อเสียงและสังคม (Honk and society)
2.1 การรักษาสภาพแวดล้อม
อย่าลืมว่าพลังงานที่ใช้ไปย่อมจะเกิดของเสีย ของเหลือใช้ หรือแปลงสภาพในของสิ่งที่ไม่ต้องการคือกากของเสีย (Exhaust) ของนำกลับมาใช้งานได้(Recycle able) และของทิ้ง (Waste)
2.1.1 ของเสีย คือจากการใช้พลังงานก็จะเกิดมีของเสีย ของเสียจะเกิดมากเกิดน้อย
ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน หรือใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์แค่ไหน ถ้าใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพก็มีของเสียมาก เมื่อมีของเสียมากก็เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมาก หรือทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหายหรือเสื่อมไป ลองมาดูตัวอย่างอาจจะมองเห็นได้ชัด
- ปล่องควันหม้อไอน้ำ ถ้าการเผาไหม้ประสิทธิภาพไม่ดี ก็เปลืองน้ำมัน การเปลืองน้ำมันทำให้ควันดีมีเขม่า ทำให้บรรยากาศเสีย และทำให้เกิดความสกปรก
- อีกอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือรถยนต์ ถ้าหากเครื่องยนต์ประสิทธิภาพไม่ดี รถกินน้ำมัน ไอเสีย มีควันดำ ทำให้มลภาวะเสีย อากาศเสีย ถ้าเรารู้จักขับรถ ที่ความเร็วพอเหมาะและบำรุงรักษารถให้มีสภาพใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพก็จะเกิดการประหยัดและรักษาสภาพแวดล้อมไปด้วย
2.1.2 นำกลับมาใช้งานได้ พลังงานที่เหลือใช้จำเป็นต้องรู้จักรหนทางนำกลับมาใช้ประโยชน์ จนหมดสิ้น ถ้าหากปล่อยทิ้งไปจะไม่ทำให้ประหยัดหรือไม่อนุรักษ์พลังงานแล้ว ยังจะทำให้สภาพแวดล้อมเสียหาย เสื่อมเสีย หรือทรุดโทรมอีกด้วย มาดูตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน
- น้ำมันเก่าหรือน้ำมันล้างเครื่อง ถ้าเขาทิ้งอาจจะทำให้ดินเสีย ต้นไม้ตาย เทลงน้ำอาจทำให้น้ำเสีย น้ำขาดออกซิเจน สัตว์น้ำหายใจไม่ได้ พืชน้ำตาย ควรจะนำกลับมาใช้ กรองหรือแยกสารแขวนลอยออกแล้วนำมาใช้งานใหม่ หรือนำไปใช้กับน้ำมันเตาของหม้อต้มไอน้ำก็ได้
- น้ำร้อน จากหม้อไอน้ำ หรือจากไอน้ำกลั่นตัวเป็นน้ำ ควรนำมาใช้งานเพื่อแทนพลังงาน ความร้อน หรือนำน้ำมันมาป้อนเข้าหม้อไอน้ำใหม่ เป็นการประหยัดพลังงาน แต่ถ้าปล่อยทิ้งไปผลกระทบคือ ปล่อยทิ้งต้นไม่พืชผักเสียหาย เกิดความร้อนหรือทิ้งลงน้ำ สัตว์หรือพืชในน้ำตาย น้ำจะร้อนมีอุณหภูมิสูง จะขาดออกซิเจน เป็นต้น
2.1.3 ของทิ้ง (Waste)หรือของที่แปลงสภาพจากการใช้พลังงาน พลังงานอาจจะแปลงสภาพถ้าหากใช้งานเกินความต้องการ แล้วจะมีของเสียออกมาซึ่งจำเป็นต้องเสียหรือทิ้งไป ทำให้เกิดผลกระทบกับสภาพแวดล้อม ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อม เสียสมดุลย์ เช่นตัวอย่าง
- เครื่องปรับอากาศตามบ้าน ตามอาคารต่าง ๆ ที่ใช้พลังงานทำการเปลี่ยนสภาพ เอาความเย็นถ่ายเทลงในห้องหรืออาคารที่ทำงาน ส่วนความร้อนระบายทิ้งไปในบรรยากาศ การประหยัดคือต้องการความเย็นพอประมาณ พอสมควร ไม่มากเกินไป ความร้อนที่ถ่ายเททิ้งไปก็เป็นสัดส่วนตามความเย็นในห้อง ถ้าหากไม่มีการอนุรักษ์หรือประหยัดก็จะทำให้ห้องหรืออาคารเย็นมาก ความร้อนที่ต้องถ่ายเททิ้งก็มากด้วย นอกจากไม่จัดการอนุรักษ์พลังงานแล้ว ยังทำให้บรรยากาศทั่วไปภายนอกร้อนระอุ อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีกด้วย
- อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ไฟแสงสว่าง การทำให้เกิดแสงสว่างก็ย่อมเกิดความร้อนเช่นเดียวกัน การใช้พลังงานแสงสว่างในอาคารอาคาร หรือสถานที่ทำงาน ก็ย่อมจะเกิดความร้อนขึ้นเมื่อไม่รู้จักใช้งานให้พอเหมาะพอดี ก็ย่อมทำให้เกิดผลเสียเพราะความร้อนนอกจากจะทำลายบรรยากาศแล้ว อาจจะต้องทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้นอีกด้วย
การบริหารจัดการพลังงาน
การพัฒนาระบบการบริหารการจัดการพลังงานนี้ควรมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายๆ สามารถนำหลักการที่ชี้แจงไว้นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้ได้ระบบการจัดการพลังงานที่เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการจัดการพลังงาน
การพัฒนาระบบการจัดการพลังงานเป็นภารกิจที่สามารถดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ดังแสดงในรูปที่ 3.1 ซึ่งประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดโครงสร้างการจัดการพลังงาน
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินสถานะเบื้องต้น
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดนโยบายและการประชาสัมพันธ์
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินศักยภาพด้านเทคนิค
ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดมาตรการ เป้าหมาย และการคำนวณผลตอบแทนทางการเงิน
ขั้นตอนที่ 6 การจัดแผนปฏิบัติการ
ขั้นตอนที่ 7 การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
ขั้นตอนที่ 8 การทบทวนผลการดำเนินการ
2.1 การกำหนดโครงสร้างการจัดการพลังงาน
ข้อกำหนดโครงสร้างและความรับผิดชอบ
(1) องค์กรต้องกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการในด้านพลังงาน รวมทั้งจัดทำเป็นเอกสารและเผยแพร่ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องในองค์กรทราบ
ลูกจ้างที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมีผลกระทบด้านพลังงานต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม
(2) องค์กรต้องแต่งตั้งผู้จัดการพลังงาน (Energy Manager) เพื่อปฏิบัติงาน โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
ดูแลให้ระบบการจัดการพลังงานที่จัดทำขึ้น มีการนำไปใช้และดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานนี้อย่างต่อเนื่อง
รายงานผลการปฏิบัติตามระบบการจัดการพลังงานต่อผู้บริหารระดับสูง เพื่อนำไปใช้ในการทบทวนการจัดการ และเป็นแนวทางสำหรับการปรับปรุงระบบการจัดการพลังงาน
(3) ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้นำในการแสดงความรับผิดชอบด้านพลังงานและดูแลให้มีการปรับปรุงระบบการจัดการพลังงานอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อองค์กรตัดสินใจนำระบบการจัดการใหม่มาใช้ จำเป็นต้องมีผู้ที่รับผิดชอบในการประสานระบบใหม่ให้เข้ากับระบบที่มีอยู่เดิมให้เกิดปัญหาและ/หรืออุปสรรคน้อยที่สุด ความรับผิดชอบนี้มีขอบเขตที่กว้างมาก ได้แก่ การผลักดัน การประสานงาน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และยังรวมถึงการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรให้มีความรู้ ความสามารถ ที่จำเป็น เป็นต้น นอกจากนั้น หลังจากที่องค์กรพัฒนาระบบการจัดการพลังงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ระบบฯสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ระบบการจัดการที่เป็นสากลมักกำหนดให้มี “ผู้แทนฝ่ายบริหาร” เช่น ISO 9001:2000 กำหนดให้มี Quality Management Representative (QMR), ISO 14001 ให้มี Environmental Management Representative (EMR) และ มอก.-18001 มีOccupational Health and Safety Management Representative (OH&SMR)
ส่วน Six Sigma ระบบการจัดการคุณภาพที่กำลังเป็นที่แพร่หลาย กำหนดให้มีบุคลากรในหลายๆระดับ ได้แก่
1) Executive Champion เป็นผู้ซึ่งผู้บริหารระดับสูงขององค์กรกำหนดให้เป็นผู้ดูแลและสนับสนุนภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำ Six Sigma มาประยุกต์ใช้ทั้งหมด การกำหนดบุคลากรในตำแหน่งนี้ เป็นการส่งสัญญาณบอกทุกๆคนว่าองค์กรมีความตั้งใจจริง โดยบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกมักเป็นคนที่มีความโดดเด่นและเป็นที่ยอมรับของพนักงานในองค์กร
2) Project Champion ได้รับการคัดเลือกโดย Executive Champion ให้มีหน้าที่กำกับดูและ Black Belt และโครงการต่างๆ มีหน้าที่ช่วย Black Belt คัดเลือก ประเมินผล และสนับสนุนการทำโครงการต่างๆ
3) Development Champion ได้รับการคัดเลือกโดย Executive Champion ให้มีหน้าที่เป็นผู้ชี้นำและเตรียมงานเพื่อการเริ่มต้นโครงการ Six Sigma
4) Black Belt เป็นพนักงานระดับกลาง โดยส่วนใหญ่มีความรับผิดชอบเกี่ยวกับ Six Sigma เพียงอย่างเดียวจนกว่างานที่ได้รับมอบหมายจะสำเร็จ เป็นคนที่ทำงานจริงๆ เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา Six Sigma
5) Green Belt คอยให้ความช่วยเหลือ Black Belt ในงานต่างๆเพื่อให้โครงการต่างๆประสบความสำเร็จ ได้รับการมอบหมายงานจาก Black Belt หากเปรียบเทียบก็เป็น “ผึ้งงาน” หากแต่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง
จะเห็นว่าการกำหนดโครงสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะนำระบบใดมาใช้ภายในองค์การ สำหรับระบบการจัดการพลังงาน เป้าหมายของโครงสร้างคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างสำหรับ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะการพัฒนาระบบฯ และ ระยะบริหารระบบฯ
ระยะการพัฒนาระบบการจัดการพลังงาน
ในระหว่างการพัฒนาระบบการจัดการพลังงาน องค์กรควรจัดตั้ง “คณะทำงานด้านอนุรักษ์พลังงาน” โดยให้มีสมาชิกอย่างน้อย 7 ท่าน แต่ไม่ควรเกิน 10 ท่าน (โดยเหตุผลของการเรียกประชุม) สมาชิกของคณะทำงานด้านอนุรักษ์พลังงานควรประกอบด้วยบุคลากรที่มีความรู้ในด้านต่างๆ ดังนี้
1) หัวหน้าคณะทำงานฯ อย่างน้อยที่สุด ต้องเป็นผู้บริหารระดับกลาง มีความสามารถในการดำเนินการประชุม มีความรู้ด้านพลังงานและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในองค์กร
2) พนักงานที่มีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมขององค์กรที่ใช้พลังงาน เช่น วิศวกรกระบวนการผลิต (Process Engineer) เป็นต้น
3) พนักงานที่มีความรู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า เช่น วิศวกรไฟฟ้า (Electrical Engineer) เป็นต้น
4) พนักงานที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภค (Utilities) เช่น ระบบ Steam ระบบ Compressed Air เป็นต้น
ในบางกรณี องค์กรอาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Administrative Staff) เพื่อช่วยคณะทำงานฯด้านงานเอกสาร หรือเจ้าหน้าที่ด้านประชาสัมพันธ์ (Public Relation) เพื่อช่วยงานด้านส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การสร้างจิตสำนึก การกระจายข้อมูล ข่าวสาร
คณะทำงานฯชุดนี้อาจคงอยู่ (โดยมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม) หรือพ้นวาระเมื่อภารกิจการพัฒนาระบบฯบรรลุเป้าหมายที่กำหนด
การประกาศแต่งตั้ง “คณะทำงานด้านอนุรักษ์พลังงาน” ต้องมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยผู้บริหารสูงสุดขององค์กร หรือส่วนขององค์กรที่นำระบบการจัดการพลังงานมาประยุกต์ใช้
ระยะบริหารระบบการจัดการพลังงาน
การกำหนดโครงสร้างและบุคลากรที่เหมาะสมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร ซึ่งโครงสร้างที่ดีต้องเหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ โดยทั่วไปแล้ว หากต้องการทราบวัฒนธรรมองค์กร สามารถประเมินโดย
วิธีที่ 1 การประเมินโดยทดลองตอบคำถาม 2 ข้อ ดังต่อไปนี้ (1) องค์กรของท่านยอมรับ(ชอบ) ความไม่แน่นอน (Uncertainly)หรือไม่ (2) องค์กรของท่านมีการมอง (วางแผนงาน) ระยะสั้นหรือระยะยาว เมื่อได้คำตอบแล้ว ลองพิจารณาเปรียบเทียบกับรูปที่ 2 และประเมินวัฒนธรรมที่เป็นไปได้ขององค์กรของท่าน
วิธีที่ 2 การประเมินโดยตอบแบบสอบถาม และรวมดูว่าคะแนนในแถวแนวตั้ง (Columm) ใดที่มีคะแนนสูงสุด ซึ่งแสดงวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อองค์กรมากที่สุดจากตารางที่ 5.1 วัฒนธรรมองค์กรสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
ตารางที่ 2.1 ลักษณะทั่วไปของวัฒนธรรมภายในองค์กร
A
|
B
|
C
|
D
| |
ลักษณะของวัฒนธรรมภายในองค์กร
Cultural
Characteristic
|
สร้างนวัตกรรมใหม่หรือองค์กรที่เกิดขึ้นมาใหม่
innovation/growth
|
องค์กรที่ทุกคนต้องการการมีส่วนร่วมหรือทำงานเป็นทีม
participate/co-operation
|
องค์กรที่มีกฎระเบียบหรือมีการควบคุมเป็นลำดับชั้น
structure/control
|
องค์กรที่เน้นผลผลิตผลหรือการทำให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้
Productivity/
achievement
|
เป้าหมาย
Focus
|
การมองเป้าหมายภายนอกองค์กร
Anywhere outside
|
การมองเป้าหมายไปที่พนักงาน
Staff-oriented
|
การมองเป้าหมายไปที่องค์กร
Organization-oriented
|
การมองเป้าหมายไปที่คู่แข่ง
Towards conpatition
|
การยอมรับความเสี่ยง
Risk tolerance
|
ยอมรับความเสี่ยงได้สูง
Tolerates high risk
|
ยอมรับความเสี่ยงได้ไม่แน่นอน
Tolerates uncertainty
|
ต้องการความแน่นอนหรือไม่ยอมรับความเสี่ยง
Needs certainly
|
ชอบทำนายล่วงหน้ามากกว่า หรือยอมรับความเสี่ยงได้ต่ำ
Prefers predictability
|
ลักษณะของผู้นำ
Leadership
|
ทุกคนอยู่ใต้บังคับบัญชา
chairsmatic
|
มีความเป็นประชาธิปไตย
Supportive
|
มีความเป็นอนุรักษ์นิยม
conservative
|
มีความเป็นผู้นำหรือตามกระแสลูกค้า
managerial
|
โครงสร้างในการบริหาร
Structure
|
สามารถยืดหยุ่นได้
flexible
|
ทำงานเป็นทีม
Co-operative
|
ไม่ยืดหยุ่นไปตามกฎระเบียบ
rigid
|
แบ่งกลุ่มการทำงาน
Cost-centers
|
อำนาจในการตัดสินใจ
Authority
|
ตัดสินใจเพียงผู้เดียว
personal
|
ปรึกษาหารือกัน
Meeting
|
การตัดสินใจเป็นไปตามขั้นตอน
rules
|
ให้หัวหน้าในส่วนนั้นๆตัดสินใจ
delegated
|
TOTAL
|
1) กลุ่ม A วัฒนธรรมแบบ Entrepreneurial เป็นองค์กรที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูง จุดมุ่งหมายระยะสั้น มักเป็นองค์กรที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ พบได้มากในองค์กรที่เกิดใหม่ ฉับไว และโครงสร้างการจัดการที่ยืดหยุ่นได้ การควบคุมการบริหารองค์กรมักอยู่กับผู้ก่อตั้งบริษัท
โครงสร้างที่เหมาะสม : ใช้ผู้จัดการพลังงานเป็นศูนย์กลาง ต้องพยายามให้ได้รับการยอมรับ สนับสนุน จากผู้บริหารสูงสุด (เจ้าของ) เพื่อให้สามารถดำเนินงานข้ามหน่วยงานภายใน มุ่งที่ผู้ใช้พลังงานหลักๆ การลงทุนควรมุ่งที่โครงการที่คืนทุนเร็วเพื่อสร้างความมั่นใจ
2) กลุ่ม B วัฒนธรรมแบบ TEAM เป็นองค์กรที่มักมองการณ์ไกล ยอมรับความเสี่ยงได้สูง มีความเป็นประชาธิปไตยในการตัดสินใจ มีการมีส่วนร่วมและความร่วมมือในองค์กร อำนาจการตัดสินใจมักอยู่กับคณะกรรมการแทนที่จะอยู่กับตัวบุคคล ทำให้ในบางกรณีขาดความฉับไว ให้ความสำคัญกับพนักงาน
โครงสร้างที่เหมาะสม : แต่งตั้งคณะกรรมการด้านพลังงานโดยประกอบด้วยตัวแทนจากส่วนงานที่ใช้พลังงานเพื่อช่วยกันกำหนดทิศทางการอนุรักษ์พลังงานและแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงานซึ่งอาจมีหลายคน (คล้ายกับการตั้ง Black Belt/Green Belt ในกรณี Six Sigma) เพื่อช่วยกันผลักดันมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่กำหนดโดยคณะกรรมการฯ
3) กลุ่ม C วัฒนธรรมแบบ Hierarchic ไม่ชอบเสี่ยง มักมองช่วงระยะเวลาปานกลาง เน้นการควบคุม ความปลอดภัย และความมั่นใจ ผู้นำมักจะเป็นพวกอนุรักษ์นิยม คุ้นเคยกับกฎระเบียบ ให้ความสำคัญกับโครงสร้าง เป้าหมายที่สำคัญคือการอยู่รอดขององค์กร อำนาจการตัดสินใจกำหนดภายใต้กฎระเบียบ มักมี “แนวทางปฏิบัติ” ขององค์กร
โครงสร้างที่เหมาะสม : ผลักดันให้กำหนดการจัดการพลังานเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างขององค์กร มี Accountability และขั้นตอนการรายงานที่ชัดเจน สร้างระบบรายงานข้อมูล ติดตาม ตรวจสอบ การใช้พลังงานที่ชัดเจน ครอบคลุม
4) กลุ่ม D วัฒนธรรมแบบ Market เป็นองค์กรที่รับความเสี่ยงได้ต่ำและมองระยะสั้นตามกระแส มักตอบรับกับความต้องการของลูกค้าได้ดี เน้น Productivity, Competence และ Achievement อำนาจการบริหารมักถ่ายมอบจากผู้บริหารไปยังหัวหน้าระดับส่วนงานพร้อมกับการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน
โครงสร้างที่เหมาะสม : กำหนด Cost Center ด้านพลังงานภายในองค์กรเพื่อมอบหมายหน้าที่ให้หัวหน้าของแต่ละ Cost Center มีหน้าที่ดูแลการใช้พลังงานในส่วนงานของตน สร้างระบบการรายงานข้อมูล การติดตาม ตรวจสอบ กลับไปยังหัวหน้าCost Center เพื่อให้ทราบข้อมูลที่ทันสมัย จัดการได้ทันท่วงที
รูปที่ 2.3 โครงสร้างการจัดการภายในองค์กรทั่วไป
ในทางปฏิบัติ องค์การอาจมีวัฒนธรรมผสม ซึ่งจากตารางจะแสดงลักษณะที่สำคัญ ดังนั้นโครงสร้างอาจเป็นแบบผสมที่ต้องเหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กรเช่นกัน มาตรฐานการจัดการพลังงานกำหนดไว้อย่างกว้างๆว่าองค์กรต้องมีผู้จัดการพลังงานและมีผู้บริหารระดับสูงที่ดูแล ให้การสนับสนุนการจัดการพลังงาน ในที่สุดแล้ว จึงขึ้นกับองค์กรนั้นที่จะเป็นผู้กำหนดโครงสร้างที่เหมาะสม
2.2 การประเมินสถานะเบื้องต้น
ข้อกำหนด : การทบทวนสถานะเบื้องต้น
1) องค์กรต้องทบทวนการดำเนินงานด้านพลังงานที่มีอยู่กับ
2) เกณฑ์การอนุรักษ์พลังงานที่ดี ซี่งประกาศใช้หรือเป็นที่ยอมรับหรือกำหนดเป็นข้อแนะนำ (Guideline) ในการตรวจประเมิน
3) ข้อกำหนดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน
4) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งนำไปใช้ในการจัดการพลังงาน
5) แนวทางการดำเนินงานด้านพลังงานที่มีอยู่ในองค์กรในอดีต
6) ข้อปฏิบัติและการดำเนินงานที่ดีกว่าซึ่งองค์กรหรือน่วยงานอื่นได้จัดทำเอาไว้ (Best Practice)
ข้อมูลจากการทบทวนสถานะเริ่มต้น จะใช้ในการพิจารณากำหนดนโยบายและกระบวนการจัดทำระบบการจัดการพลังงาน
การทบทวนสถานะเริ่มต้นนี้จะใช้เฉพาะเมื่อมีการจำมาตรฐานนี้มาใช้เป็นครั้งแรกเท่านั้น เมื่อระบบการจัดการดำเนินไปได้ครบถ้วนตามข้อกำหนดแล้ว ผลจากการทบทวนการจัดการจะนำไปใช้ในการทบทวนนโยบายและพิจารณาปรับปรุงระบบการจัดการต่อไป
ขั้นตอนนี้เป็นการประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์การก่อนที่จะนำระบบการจัดากรพลังงานมาประยุกต์ใช้ ผลที่ได้จากการประเมิน จะช่วยทำให้ทราบว่าการจัดกานในปัจจุบันมีจุดอ่อน-จุดแข็งในเรื่องใด เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย ทิศทางการอนุรักษ์พลังงาน ประเด็นที่ต้องให้ความสนใจเป็นลำดับต้นๆ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ องค์กรสามารถนำรูปแบบที่คุ้นเคยมาประยุกต์ใช้ได้โดยพิจารณาให้มีประเด็นครบถ้วนตามที่มาตรฐานกำหนด ในที่นี้นำรูปแบบ Energy Management Matrix ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย Energy Technology Support Unit (ETSU) ของบริษัท AEA Technology plc แห่งสหราชอาณาจักรมาประยุกต์ใช้ กองฝึกอบรม กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้นำ Matrix ดังกล่าวมาแปลและเผยแพร่ในเอกสารเผยแพร่แนวทางการปฎิบัติงานที่ดี เล่มที่ 7 เรื่อง “คู่มือฝึกอบรมด้านการจัดการพลังงาน”
ในการใช้ Matrix ผู้ประเมินจะพิจารณาประเด็นต่างๆ 6 ประเด็นที่มีความสำคัญต่อการจัดการพลังงานภายในองค์กร ได้แก่ นโยบาย การจัดองค์กร การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ ระบบข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ และการลงทุน โดยให้คะแนนแต่ละประเด็นระหว่าง 0 ถึง 4 โดยเปรียบเทียบลักษณะจริงที่เกิดในองค์กรกับข้อแนะนำที่ให้ไว้ในตาราง ลักษณะที่ปรากฏเป็นคะแนนระดับ 4 ถือได้ว่าเป็น Best Practices สำหรับประเด็นที่พิจารณานั้นๆ
เมื่อให้คะแนนทุกประเด็นแล้ว ให้ลากเส้นตรงเชื่อมจุดเข้าด้วยกัน และพิจารณารูปแบบของเส้นที่ได้ เปรียบเทียบกับรูปแบบที่นำเสนอในรูปที่ 5.5 ว่าใกล้เคียงกับหมายเลขใดมากที่สุด ตารางที่ 5.2 ให้คำจำกัดความของลักษณะเส้นแต่ละหมายเลข รวมถึงการวิเคราห์เบื้องต้นของแต่ละเส้นในกรณีที่ลักษณะเส้นที่ได้ไม่ตรงหรือใกล้เคียงกับเส้นใดเลย ในรูปที่ 5.5 ให้จัดให้ใกล้เคียงมากที่สุด
กรณีที่ประเด็น “นโยบาย” “การจัดองค์กร” “การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ” หรือ “การประชาสัมพันธ์” มีคะแนนต่ำ แผนการพัฒนาระบบการจัดการพลังงานควรจะให้ความสนใจกับขั้นตอนที่ 3 การกำหนดนโยบาย โครงสร้าง และการประชาสัมพันธ์
รูปที่ 2.4 Energy Management Matrix
ระดับคะแนน
|
นโยบายการจัดการ
พลังงาน
|
การจัดองค์กร
|
การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ
|
ระบบข้อมูลข่าวสาร
|
ประชาสัมพันธ์
|
การลงทุน
|
4
|
มีนโยบายจากฝ่ายบริหาร และถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่ปรึกษา
|
มีการจัดองค์กรเป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของฝ่ายบริหาร และ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
|
มีการประสานงานระหว่างผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และทีมงานทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ
|
กำหนดเป้าหมายที่ครอบคลุม ติดตามผลหาข้อผิดพลาดและประเมินผล
|
ประชาสัมพันธ์ การประหยัดพลังงานและผลดำเนินการด้านพลังงานของโรงงาน
|
จัดสรรงบประมาณโดยละเอียดโดยพิจารณาถึงความ สำคัญของโครงการ
|
3
|
มีนโยบายและการสนับสนุนเป็นครั้งคราวจากฝ่ายบริหาร
|
ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน รายงานตรงต่อคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าฝ่ายต่างๆ
|
คณะกรรมการการอนุรักษ์พลังงานเป็นช่องทางหลักในการดำเนินงาน
|
แจ้งผลการใช้พลังงานให้แต่ละฝ่ายทราบแต่ไม่มีการแจ้งถึงผลการประหยัด
|
ให้พนักงานรับทราบโครงการอนุรักษ์พลังงานและให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
|
ใช้ระยะเวลาคุ้มทุนเป็นหลักในการพิจารณาการลงทุน
|
2
|
ไม่มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน
|
มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานรายงานต่อคณะกรรมการเฉพาะกิจแต่สายงานบังคับบัญชาไม่ชัดเจน
|
คณะกรรมการเฉพาะกิจเป็นผู้ดำเนินการ
|
ทำรายงานติดตามประเมินผลให้คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดตั้งงบประมาณ
|
จัดฝึกอบรมให้พนักงานรับทราบเป็นครั้งเป็นคราว
|
ลงทุนโดยดูมาตรการที่มีระยะเวลาคุ้มทุนเร็ว
|
1
|
ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
|
ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานมีขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบจำกัด
|
มีการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการระหว่าง วิศวกรกับผู้ใช้พลังงาน(พนักงาน)
|
มีการสรุปรายงานด้านค่าใช้จ่ายการใช้พลังงานเพื่อใช้กันภายในฝ่ายวิศวกรรม
|
แจ้งให้พนักงานทราบอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
|
พิจารณาเฉพาะมาตรการที่ลงทุนต่ำ
|
0
|
ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน
|
ไม่มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
|
ไม่มีการติดต่อกับผู้ใช้พลังงาน
|
ไม่มีระบบรวบรวมข้อมูลและบัญชีการใช้พลังงาน
|
ไม่มีการสนับสนุนการประหยัดพลังงาน
|
ไม่มีการลงทุนใดๆ
|
ตารางที่ 2.2 คำอธิบายลักษณะเส้นแบบต่างๆ
ลักษณะเส้น
|
รายละเอียด
|
การวิเคราะห์
| |
1
|
High Balance
|
ทุกประเด็นมีคะแนนมากกว่า 3
|
ระบบการจัดการดีมาก เป้าหมายคือรักษาให้ยั่งยืน
|
2
|
Low Balance
|
ทุกประเด็นคะแนนน้อยกว่า 3
|
เป็นอาการของการพัฒนาที่สม่ำเสมอหรือภาวะนิ่งเฉย ไม่มีความก้าวหน้า
|
3
|
U-Shaped
|
2 ประเด็นด้านนอกมีคะแนนสูงกว่าประเด็นอื่นๆ
|
ความคาดหวังสูง อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
|
4
|
N-Shaped
|
2 ประเด็นด้านนอกมีคะแนนต่ำกว่าประเด็นอื่นๆ
|
ความสำเร็จที่บรรลุในประเด็นที่มีคะแนนสูงเป็นการเสียเปล่า
|
5
|
Trough
|
1 ประเด็นมีคะแนนต่ำกว่าประเด็นอื่น
|
ประเด็นที่ล้าหลังอาจทำให้ระบบไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
|
6
|
Peak
|
1 ประเด็นมีคะแนนสูงกว่าประเด็นอื่น
|
ความสำเร็จในประเด็นที่คะแนนสูงสุดจะเป็นการสูญเปล่า
|
7
|
Unbalanced
|
มี 2 ประเด็นหรือมากกว่าที่มีมีคะแนนสูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
|
ยิ่งมีความไม่สมดุลเท่าไร ยิ่งจัดการยาก
|
กรณีที่ประเด็น “ข้อมูลข่าวสาร” หรือ “การลงทุน” มีคะแนนต่ำ แผนการพัฒนาระบบการจัดการพลังงานควรจะให้ความสนใจกับขั้นตอนที่ 4 การประเมินศักยภาพด้านเทคนิคและการเงิน ขั้นตอนที่ 5 การจัดลำดับ กำหนดมาตรการ และเป้าหมาย และขั้นตอนที่ 6 การกำหนดระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ และงบประมาณ
อย่างไรก็ตาม การกำหนดแผนการพัฒนาระบบการจัดการ เป็นการทำงานร่วมระหว่างผู้บริหารกับคณะทำงานที่จะช่วยกันหารแนวทางที่ดีที่สุดกับองค์กร
2.3 การกำหนดนโยบาย และการประชาสัมพันธ์
ข้อกำหนด : นโยบายพลังงาน
ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดนโยบาย โดยจัดทำเป็นเอกสารพร้อมทั้งลงนามโดยผู้บริหารระดับสูง เพื่อแสดงเจตจำนงในการจัดการพลังงาน นโยบายดังกล่าวต้อง
1) เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ
2) เหมาะสมกับลักษณะและปริมาณพลังงานที่ใช้
3) แสดงเจตจำนงที่จะปฎิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆที่องค์กรได้ทำข้อตกลงไว้
4) แสดงเจตจำนงที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง
5) แสดงเจตจำนงที่จะจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอเหมาะสมในการดำเนินการตามระบบการจัดการพลังงาน
นอกจากนี้ต้องให้ลูกจ้างได้ทราบและเข้าใจจุดมุ่งหมายของนโยบาย โดยการเผยแพร่และเปิดโอกาสให้ลูกจ้างมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นและปฎิบัติตามนโยบาย รวมทั้งมีการทบทวนเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่านโยบายที่กำหนดขึ้นยังมีความเหมาะสมกับองค์กร
ข้อกำหนด : การสื่อสาร
องค์กรต้องจัดทำและปฎิบัติตามเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานในการสื่อสารด้านพลังงานโดยให้องค์กรรับฟังข้อคิดเห็นและคำแนะนำ การประชาสัมพันธ์ การรับและการตอบสนองข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคล ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานระดับต่างๆทั้งภายในและภายนอก
โดยทั่วๆไป เป้าหมายหลักของโครงการอนุรักษ์พลังงานมักเป็นการลดค่าใช้จ่ายภายในองค์กร ผู้บริหารระดับสูงมักมีบทบาทจำกัดมาก ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายเทคนิคที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ในโลกยุคปัจจุบัน พลังงาน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ เชื่อมโยงกันอย่างมีพลวัต ยากที่จะพิจารณาแบบ “แยกส่วน” จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่จะแสดงบทบาทมากกว่า “ผู้คุมค่าใช้จ่าย” แต่ต้องกำหนด วิสัยทัศน์ (Vision) และทิศทาง (Direction) ด้านพลังงานขององค์กรผ่านนโยบาย (Policy) และการกำหนดโครงสร้าง (Organization Structure) เพื่อให้บุคลากรดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน เกิดประโยชน์สูงสุด และมีผล (Impact) ต่อองค์กรและชุมชน เป้าหมายของการนำระบบการจัดการพลังงานมาประยุกต์ใช้ เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยนำองค์กรให้เคลื่อนจาก Operation Energy Efficiency ไปสู่ “Design for Energy Efficiency”เพื่อให้เวทีของการอนุรักษ์พลังงานย้ายจากโรงงาน (Production Floor) ไปสู่ห้องประชุมผู้บริหาร (Boardroom)
การกำหนดนโยบาย
องค์กรส่วนใหญ่ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีการดูแลพลังงานดีเพียงใด มักไม่ตระหนักถึงความจำเป็นของการมีนโยบายด้านพลังงาน มี 5 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อนโยบายที่จะประสบผลสำเร็จได้แก่ 1) แรงผลักดัน 2) การนำไปใช้ 3) การทบทวน 4) การนำไปปฏิบัติ 5) ข้อผูกมัด โดยหากพิจารณา โดยละเอียดและเปรียบเทียบกับที่กำหนดโดยมาตรฐานการจัดการพลังงาน จะพบว่านโยบายควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1) นโยบายต้องเหมาะสมกับขนาดและธุรกิจขององค์กร
2) นโยบายพลังงานจะต้องลงนามโดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ในที่นี้ขึ้นกับขอบเขตการนำระบบมาประยุกต์ใช้ เช่น หากเป็นการพัฒนาระบบที่โรงงานแห่งหนึ่งในกลุ่มโรงงานขององค์กร มิได้ครอบคลุมทั้งบริษัท ผู้ลงนามอาจเป็นรองกรรมการผู้จัดการที่ดูแลโรงงาน ผู้อำนวยการผลิต หรือผู้จัดการโรงงาน
3) นโยบายจะต้องแสดง “ข้อผูกมัด (Commitment)” ขององค์กรที่จะรับผิดชอบการใช้พลังงานในการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงการจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาใช้ในการดำเนินงาน
4) นโยบายต้องแสดงเป้าหมายขององค์กรในระยะยาว ซึ่งแสดงข้อผูกมัดในรายละเอียดว่าจะปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงานในแง่มุมใด เช่น
รูปที่ 2.6 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความสำเร็จของนโยบายพลังงาน
สนับสนุน “โครงสร้าง (Organization Structure)” การบริหารงานด้านพลังงาน
ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission)
สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)
5) นโยบายต้องแสดง “ความรับผิดชอบ” ในการควบคุมการใช้พลังงานและเป็นการกระจายความรับผิดชอบไปยังผู้ใช้งานที่ปลายทาง และผู้ที่ดูและงบประมาณ
6) นโยบายต้องแสดง “การสื่อสาร” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานให้ทั้งพนักงานภายในองค์กร และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยอาจแสดงในรูปของรายงาน หรือเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานขององค์กร
7) นโยบายต้องแสดง “การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” โดยมีการปรับปรุงเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและทบทวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ในบางองค์กร โดยเฉพาะที่ได้รับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 แล้ว สามารถปรับนโยบายสิ่งแวดล้อมให้มีประเด็นพลังงาน ก็สามารถใช้เป็นนโยบายพลังงานได้แล้ว แต่บางองค์กรอาจเลือกที่จะแยกนโยบายเพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการ ก็สามารถทำได้เช่นกัน
การประชาสัมพันธ์
จิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานขององค์กรเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จ เงินที่ลงทุนไปสำหรับอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงจะสูญเปล่าหากพนักงานขาดจิตสำนึก ดังนั้น จิตสำนึก และผลจากการมีจิตสำนึก(ต้องการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร) เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบการจัดการพลังงาน มีความสำคัญมากกว่างบประมาณ มากกว่าเทคโนโลยี การสร้างจิตสำนึกเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจึงควรเป็นภารกิจที่ต้องได้รับการเอาใจใส่จากผู้บริหาร
จะสร้างจิตสำนึกได้อย่างไร มีแนวทางที่หลากหลาย ตำราส่วนใหญ่มีการกล่าวถึงการสร้างการมีส่วนร่วม คู่มือนี้ใช้ “หลักการตลาด” เป็นเครื่องมือในการสร้างจิตสำนึกภายในองค์กร โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ “ถาวร” (ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงเฉพาะช่วงที่กำลังจะถูก Audit) ต่อทัศนคติและพฤติกรรม หากลองพิจารณาว่า “การอนุรักษ์พลังงาน” เป็น“ผลิตภัณฑ์” ที่ต้องการจะขาย และลูกค้า (Target Customers) คือกลุ่มพนักงานขององค์กร
2.4 การประเมินศักยภาพทางเทคนิค
ข้อกำหนด : การวางแผน
การประเมินการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ
องค์กรต้องจัดทำและปฏิบัติตามเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานที่ช่วยในการบ่งชี้ลักษณะการใช้พลังงานขององค์กร ระดับพลังงานที่ใช้ และการประมาณระดับการใช้พลังงานทุกกิจกรรม
ในการประเมิน องค์กรจะต้องพิจารณา
(1) ข้อมูลการใช้พลังงานทั้งในอดีต และปัจจุบัน
(2) รายการอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานในสัดส่วนที่สูง
(3) แผนงานด้านอนุรักษ์พลังงาน
(4) ศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงาน
องค์กรต้องทบทวนการชี้บ่งและประเมินนี้ ในกรณีที่มีการดำเนินกิจกรรมใหม่ หรือมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่ประเมินว่ามีการใช้พลังงาน
กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
องค์กรต้องจัดทำและปฏิบัติตามเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานในการติดตาม ข้อกำหนดตามกฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ ที่องค์กรนำมาใช้ในการจัดการพลังงานให้ทันสมัย
วัตถุประสงค์ของขั้นตอนนี้ก็เพื่อค้นหาศักยภาพขององค์กรในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ของเสีย(Waste) มีทั้งสิ้น 7 ประเภท ได้แก่ การผลิตที่มากเกินความต้องการ (Overproduction), การรอ (Waiting), การขนย้าย (Transportation), ขั้นตอนการผลิตมากเกินความจำเป็น (Over-processing), พัสดุคงคลัง (Inventory), การเคลื่อนไหว(Motion), การซ่อมแซม/ปรับสภาพ (Rework) นอกจากนี้ บางครั้งยังมีประเภทที่ 8 คือ การที่ไม่สามารถใช้ความสามารถของพนักงานอย่างเต็มที่ ไม่ว่าเป็นของเสียประเภทใด ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดการสูญเสียพลังงานทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีสินค้าคงคลังสูง หากสมมติว่าสินค้าประเภทหนึ่งใช้พลังงานในการผลิตทั้งสิ้น 1.25 kWhต่อชิ้น อย่างไรก็ตาม หลังจากที่สินค้านั้นออกจากสายการผลิตจะถูกเก็บไว้ที่คลังสินค้าอีกโดยเฉลี่ยประมาณ 1 สัปดาห์ ทุกๆวันที่สินค้าอยู่ในคลังพัสดุ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกวัน กรณีพลังงาน อาจได้แก่ ไฟฟ้าแสงสว่าง บางครั้งอาจรวมถึงเครื่องทำความเย็น และหากต้องมีการเคลื่อนไหว/เคลื่อนย้าย ก็จะรวมถึงเชื้อเพลิง เป็นต้น ดังนั้น การพิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์กระบวนการผลิต และ Flow ของการผลิตอย่างละเอียด การประเมินสภาวะการใช้พลังงานจึงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
(1) การประเมินระดับองค์กร
เป็นการประเมินการใช้พลังงานทั้งองค์กร ไม่แยกเป็นหน่วยหรืออุปกรณ์ โดยส่วนใหญ่อาศัยข้อมูลใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าหรือค่าเชื้อเพลิง การประเมินแบบนี้ สามารถใช้ประโยชน์ได้ 2 รูปแบบ
เปรียบเทียบการใช้แบบภายใน เป็นการเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีตว่า โดยรวมแล้วองค์กรใช้พลังงานมากขึ้น น้อยลง หรือเท่าเดิม เมื่อเทียบที่กำลังการผลิตเดียวกัน
เปรียบเทียบกับโรงงานอื่นที่มีขนาดเท่ากัน มีกระบวนการผลิตคล้ายกัน การเปรียบเทียบมักทำได้ยากเพราะไม่สามารถหาข้อมูลหรือโรงงานที่เหมือนกันได้
(2) การประเมินระดับประเภทสินค้า
องค์กรส่วนใหญ่ต้องการข้อมูลระดับสินค้าเพื่อใช้ในการคำนวณต้นทุน การจะคำนวณข้อมูลดังกล่าวสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่
ระบบไฟฟ้า/เชื้อเพลิง ของกระบวนการผลิตจัดทำไว้ดี กล่าวคือ แยกระบบสอดคล้องกับกระบวนการผลิตแต่ละผลิตภัณฑ์ ไม่มีการเชื่อมต่อสายไฟฟ้าหรือท่อทางแบบ “ชั่วคราวอย่างถาวร” ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์ประเภท Data Logger เก็บข้อมูลแบบReal Time ทั้งพลังงานและ Throughput เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ก็จะคำนวณดัชนี พลังงาน/ชิ้น ได้ง่าย
ระบบไฟฟ้า/เชื้อเพลิง ไม่เป็นระบบเท่าที่ควร จำเป็นต้องใช้ข้อมูลสัดส่วนการใช้พลังงานของแต่ละอุปกรณ์ในสายการผลิตมาประกอบการคำนวณ ในกรณีนี้ ย่อมมีความคลาดเคลื่อน อีกทั้งสัดส่วนที่ใช้ในการ “กระจายค่าใช้จ่าย” ก็มักจะเป็นค่าคงที่ช่วงระยะเวลานานๆ ค่าพลังงานที่ได้จึงไม่สมจริง
(3) การประเมินระดับอุปกรณ์
เป็นการประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์แต่ละชิ้น เรียกว่า Benchmarking ต้องมีการเก็บข้อมูลที่พอเพียง มีการวางแผนการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ Specific Energy Consumption (SEC) ที่เหมาะสม
ปัญหาในประเทศไทยในปัจจุบัน คือการขาดข้อมูลที่จะใช้ในการเปรียบเทียบทั้งระดับอุตสาหกรรมและระดับอุปกรณ์ ในบางกรณีจึงจำเป็นต้องเทียบกับข้อมูลจากต่างประเทศ ซึ่งมีความแตกต่างในหลายๆด้าน เช่น ภูมิอากาศ (ส่งผลต่อค่าพลังงานที่ใช้ในการให้ความอบอุ่นในโรงงาน) เป็นต้นกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ตระหนักในอุปสรรคนี้และกำลังเร่งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ
2.5 การกำหนดมาตรการ เป้าหมายและการคำนวณผลตอบแทนทางการเงิน
การกำหนดมาตรการ
แนวทางการกำหนดมาตรการที่ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่พบจากการทำ Benchmarking มีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นกับความคุ้นเคยของแต่ละองค์กร ในคู่มือนี้ใช้หลักการของ Cause-and-Effect Diagram หรือที่ในบางครั้งเรียกว่า“Fishbone Diagram” หรือ “Ishikawa Diagram” เป็นแนวทางในการระดมความคิดเห็น โดยเริ่มจากผลที่ได้รับ (Effect) คืออุปกรณ์ประสิทธิภาพต่ำเป็นหัวปลาอยู่ทางขวามือ
รูปที่ 2.7 Cause-and-Effect Diagram (หรือ Fishbone Diagram)
และพิจารณาทีละประเด็นเริ่มจาก เครื่องจักร/อุปกรณ์ วิธีการทำงาน วัสดุที่ใช้ และพนักงาน ทุกประเด็นสามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการใช้พลังงานสูงได้ จึงไม่ควรละเลย ที่สำคัญ คำตอบที่ว่า “เราเคยทำแบบนี้มาตั้งแต่ก่อตั้งโรงงาน” ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว การอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยการเรียนรู้วิธีการทำงานใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อทราบสาเหตุที่ก่อให้เกิดการใช้พลังงานสูงกว่าเกณฑ์แล้ว ลำดับถัดไปคือการกำหนดมาตรการที่เหมาะสม การแก้ไขสาเหตุที่ค้นพบข้างต้น จะเป็นเครื่องชี้แนะแนวมาตรการที่จะนำมาประยุกต์ใช้ เช่น หากหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ค่า SEC ของ Air Compresser สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมคืออุณหภูมิของอากาศที่ใช้ (Air Intake) ดังนั้น มาตรการที่กำหนดคือการปรับปรุงให้อากาศนี้มีอุณหภูมิที่ลดลง อาจโดยปรับปรุงการถ่ายเทของ Compresser House ก็ได้ เป็นต้น สำหรับแนวทางขั้นต่ำในการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่กำหนดให้องค์กรที่นำระบบการจัดการพลังงานมาประยุกต์ใช้ ต้องพิจารณา ซึ่งรวมถึง การใช้ระบบปัจจุบันที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย
ควบคุมการทำงานแนวทางเดิมให้ดีขึ้นโดยการใช้ Standard Operating Procedure (สาเหตุที่พบจากการทำ Cause-and-Effect Analysis คือพนักงาน)
การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานโดยพิจารณาจาก Best Practices (สาเหตุที่พบจากการทำ Cause-and-Effect Analysis คือวิธีการทำงาน) การปรับปรุงงานซ่อมบำรุง โดยพิจารณาให้ประยุกต์องค์ประกอบของหลักการ Total Preventive Maintenance (TPM) ซึ่งประกอบด้วย Preventive Maintenance, Corrective Maintenance, Maintenance Prevention และ Breakdown Maintenance องค์กรไม่จำเป็นต้องประยุกต์ใช้ทั้ง 14 องค์ประกอบ หากแต่ควรนำองค์ประกอบที่เหมาะสมกับสภาพ/ความพร้อมมาใช้ (สาเหตุที่พบจากการทำ Cause-and-Effect Analysis คือเครื่องจักร/อุปกรณ์) การปรับปรุง ประสิทธิภาพกระบวนการผลิต (สาเหตุที่พบจากการทำ Cause-and-Effect Analysis คือวัสดุที่ใช้)
การปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ เช่น การปรับสภาพของ Compresser House เพื่อให้ Air Intake มีอุณหภูมิลดลง เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่ เช่น การติดตั้ง Air Compresser เครื่องใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าของเดิมเพื่อช่วยดึงค่าประสิทธิภาพโดยรวมในการผลิต Compressed Air ขององค์กรเป็นต้น
ในการคิดหามาตรการต่างๆ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพราะในที่สุดแล้ว พนักงานส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่นำมาตรการเหล่านั้นไปปฏิบัติ นอกจากนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้พัฒนาแนวทางต่างๆเพื่อช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในองค์กร เช่น มาตรการมีส่วนร่วม มาตรการวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) เป็นต้น
การกำหนดเป้าหมาย
จากมาตรการต่างๆที่กำหนดตามแนวทางที่กล่าวถึงข้างต้น องค์กรต้องตัดสินใจกำหนดเป้าหมายในการอนุรักษ์พลังงานเพื่อใช้เป็นหลักในการประเมินความสำเร็จ ใช้เป็นจุดที่ใช้รวมความพยายามของพนักงานทั้งองค์กร โดยทั่วไป มีแนวทางที่ใช้ในการกำหนดเป้าหมายอยู่ 3 แนวทาง ได้แก่
แนวทางที่ 1 ผู้บริหารระดับสูง “ทุบโต๊ะ” หรือ “ฟันธง” กำหนดเป้าหมายโดยมิได้พิจารณาข้อมูลในอดีต หรือ ความเป็นไปได้ในอุตสาหกรรม การกำหนดเป้าหมายแนวทางนี้เป็นที่แพร่หลายในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งยังได้ยินบ่อยครั้งในช่วงวิกฤตที่มีการลดค่าใช้จ่ายทุกหน่วยงานในองค์กรเท่าๆกัน ตัวอย่างเช่น ในกรณีของ Air Compressor ที่วัดค่า SEC ได้เท่ากับ35.64 kWh/100 scfm-hr หากกำหนดเป้าหมายโดยแนวทางนี้ ผู้บริหารเมื่อเห็นว่ามีค่าสูงมาก อีกทั้ง จากการทำ Process Mapping พบว่าสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ระบบผลิต Compressed Air คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 25 ของทั้งโรงงาน อาจระบุให้ลดค่า SEC ลง 50% ภายใน 1 ปีหรือค่า SEC ใหม่เท่ากับ 17.82 kWh/100 scfm-hr ซึ่งใกล้เคียงกับค่าที่ดีที่สุดในฐานข้อมูล แต่ผู้บริหารไม่ทราบข้อมูลนี้ จึงไม่ตระหนักถึงอุปสรรคที่อาจเกิดจากการกำหนดเป้าหมายแนวทางนี้ เป็นต้น การกำหนดเป้าหมายแบบนี้ ขัดกับหลักการ “Achievable” ใน SMART ที่กล่าวถึงในหัวข้อการประชาสัมพันธ์ อาจก่อให้เกิดทัศนคติที่ว่า “ทำอย่างไร ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ จะทำไปทำไม” ก็ได้
แนวทางที่ 2 เป็นการกำหนดโดยศึกษาข้อมูลที่ใช้ในการทำ Benchmark โดยกำหนดค่าที่ดีถัดไปเป็นเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ในกรณีของ Air Compressor ค่าที่ดีถัดไปคือค่าเฉลี่ย (21.63 kWh/100 scfm-hr) ซึ่งจะเป็นเป้าหมายที่องค์กรกำหนด เป็นต้น ข้อดีของการกำหนดแนวทางนี้คือมีหลักฐานว่ามีผู้สามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม อาจเป็นค่าที่ได้จากการใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถบรรลุได้โดยใช้อุปกรณ์ที่องค์กรนั้นมีอยู่ การจะบรรลุเป้าหมาย อาจจำเป็นต้องมีการลงทุนในระดับที่สูงมากจนไม่คุ้มกับการลงทุน
แนวทางที่ 3 กำหนดให้เป้าหมายเป็นค่าที่ต่ำสุดในแผนภูมิที่ได้จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับพลังงานทีใช้กับตัวแปร(Driver) ในหัวข้อ การสร้างความสัมพันธ์ ดังที่แสดงในรูปที่ 5.8 เส้นหมายเลข 1 เป็นค่าเฉลี่ยระดับการใช้พลังงานในอดีต ในขณะที่เส้นหมายเลข 2 ลากผ่านจุดการใช้พลังงานที่ต่ำสุดและเป็นเส้นกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน การที่มีข้อมูลแสดงไว้ยืนยันว่าสามารถทำได้ภายในองค์กร เพียงแค่ไม่มีความแน่นอน ขั้นแรกในการกำหนดมาตรการจึงเป็นการสร้างความสามารถในการควบคุม (Control-ability)
รูปที่ 2.8 แผนภูมิความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานที่ใช้กับปริมาณ Stream ที่ผลิต และเส้นกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน
การคำนวณผลตอบแทนทางการเงิน
ภายหลังจากที่กำหนดเป้าหมายโดยใช้แนวทางใดแนวทางหนึ่งตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว องค์กรต้องประมาณค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด ในที่สุด องค์กรจะมีตารางแสดงมาตรการอนุรักษ์พลังงาน เป้าหมาย เงินลงทุน และค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ประหยัดได้ อย่างไรก็ตาม องค์กรส่วนใหญ่ไม่มีทรัพยากรเพียงพอ โดยเฉพาะด้านการเงินที่จะลงทุน จึงจำเป็นต้องตัดสินใจลงทุนในมาตรการที่เหมาะสมที่สุด ให้ผลตอบแทนดีผ่านเกณฑ์ขององค์กร การนำเสนอผลตอบแทนต่อผู้บริหารที่ดีที่สุดจึงเป็นการคำนวณบนฐานการเงิน ซึ่งแนวทางที่เป็นที่ยอมรับ ได้แก่ Pay Back Period และ Internal Rate of Return
Pay Back Period
เป็นการคำนวณผลตอบแทนทางการเงินแบบง่ายๆโดยใช้สมการ
ตัวอย่างเช่น มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพต้องใช้เงินลงทุน 1 ล้านบาท โดยจะประหยัดพลังงานลงคิดเป็นเงิน250,000 บาทต่อปี ดังนั้น Pay Back Period เท่ากับ 4 ปี เป็นต้น ข้อเสียของการใช้ Pay Back Period คือมิได้มีการคิดค่าของเงินที่ลดลงทุกปี ดังนั้น จึงไม่เหมาะสมกับมาตรการที่มีอายุการคำนวณนานๆ เช่น มากกว่า 5 ปี
Internal Rate Return (IRR)
ในความเป็นจริง ค่าของเงินไม่คงที่หากแต่ลดลงทุกๆปี เมื่อเป็นเช่นนี้ การคำนวณผลตอบแทนทางการเงินโดยใช้ค่า Pay Back Period จึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องใช้วิธีที่นำอัตราดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งที่นิยมคือการใช้ Internal Rate Return (IRR)
ค่า Internal Rate Return (IRR) คืออัตราดอกเบี้ยที่ค่าของเงินลดลง และเมื่อบวกค่าของเงินที่คงเหลืออยู่เข้าด้วยกันจะเท่ากับเงินลงทุนที่ลงไปในปีแรก ตัวอย่างเช่น มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพต้องใช้เงิน 10 ล้านบาท อายุโครงการ 15 ปี และทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงปีละ 1,500,000 บาท จากการคำนวณพบว่าค่า IRR เท่ากับ 12.40% ตามที่แสดงในรูปที่ 5.9
องค์กรส่วนใหญ่มีเกณฑ์ภายในที่ใช้ในการกำหนดค่า IRR ของโครงการที่องค์กรจะลงทุนซึ่งค่านี้จะแปรหลากหลายขึ้นกับวัฒนธรรมขององค์กร เช่น องค์กรที่ค่อนข้าง Conservative มักจะมีค่า IRR Requirement สูง ในขณะที่องค์กรที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูงจะมีค่าที่ต่ำกว่า
หลังจากที่คำนวณผลตอบแทนทางการเงินของทุกมาตรการครบถ้วนแล้ว ให้แบ่งมาตรการออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีการคำนวณผลตอบแทนทางการเงินเป็นเกณฑ์ กล่าวคือ กลุ่มที่ 1 เป็นมาตรการที่ใช้วิธี Pay Back Period ในขณะที่กลุ่มที่ 2 คือมาตรการที่ใช้วิธี IRR ภายในแต่ละกลุ่มให้จัดลำดับมาตรการที่มีผลตอบแทนทางการเงินดีที่สุดไปหาน้อยที่สุด
รูปที่ 2.9 แสดงมูลค่าของเงินตามหลักการคำนวณค่า IRR
กลุ่มที่ 1 มาตรการที่มีค่า Pay Back Period สั้นที่สุดอยู่ลำดับแรกแล้วเพิ่มขึ้นตามลำดับจนได้มาตรการสุดท้ายที่มีค่า Pay Back Period นานที่สุด
กลุ่มที่ 2 มาตรการที่มีค่า IRR สูงที่สุดเป็นลำดับแรก และลดลงตามลำดับจนถึงมาตรการที่มีค่า IRR ต่ำที่สุดเป็นลำดับสุดท้าย
นอกจากมาตรการในทั้ง 2 กลุ่มแล้ว ยังจะมีมาตรการในกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นมาตรการเพื่อให้องค์กรดำเนินธุรกิจเป็นไปตามที่กฎหมายด้านพลังงานกำหนด ประเด็นเหล่านี้ ถือว่ามีนัยสำคัญสูงทันที และจัดว่าเป็นมาตรการเร่งด่วน แม้ค่าผลตอบแทนทางการเงินจะต่ำกว่ามาตรการอื่นๆ แต่การปฏิบัติตามกฎหมายถือเป็น “หน้าที่” ที่ต้องจัดการให้เร็วที่สุด
นอกเหนือจากมาตรการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแล้ว องค์กรต้องตัดสินใจคัดเลือกโครงการจากกลุ่มที่ 1 และ 2 ที่จะนำไปจัดทำแผนปฏิบัติการ ในกรณีที่จะไม่คัดเลือกมาตรการที่มีผลตอบแทนทางการเงินที่ดี องค์กรจะต้องแสดงเหตุผลประกอบเป็นลายลักษณ์อักษร
2.6 การจัดทำแผนปฏิบัติการ
ดังที่ได้ชี้แจงให้ทราบในเบื้องต้นแล้วว่าวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีมาตรฐานระบบการจัดการพลังงานก็เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานที่ยั่งยืน แผนปฏิบัติการที่จะสนับสนุนหัวใจของการอนุรักษ์พลังงาน ได้แก่ ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ, พนักงานมีจิตสำนึก และพนักงานมีความรู้ ความเข้าใจที่เหมาะสม ดังนั้น แผนปฏิบัติการที่องค์กรต้องจัดทำ จะต้องประกอบด้วย
แผนเพื่อรองรับมาตรการอนุรักษ์พลังงานทีคัดเลือก โดยใช้ข้อมูบที่ได้จากขั้นที่ 5
แผนประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำนึกของพนักงานในองค์กร โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 3
แผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง หัวหน้างานจะต้องทำการวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมด้านพลังงาน (Training Need Analysis) ของพนักงานทุกคนที่อยู่ในความรับผิดชอบ และจัดส่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปจัดทำเป็นแผนการฝึกอบรมรวมขององค์กร ระดับการฝึกอบรมที่ต้องได้รับ ควรสอดคล้องกับระดับ Impact (Awareness, Interest, Desire, Action) ที่คาดหวังจากพนักงานคนนั้นๆ แผนปฏิบัติการที่จัดทำขึ้นจะต้องแสดงวัตถุประสงค์ของมาตรการ, ตัวชี้วัดความสำเร็จของมาตรการ, ผู้รับผิดชอบ, งบประมาณ, ระยะเวลาดำเนินการ และกลุ่มเป้าหมาย เป็นอย่างน้อย ในประเด็นระยะเวลาดำเนินการนั้น หากเป็นมาตรการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดจะต้องไม่เกิน 6 เดือน ยกเว้นองค์กรมีเหตุผลที่จำเป็นอย่างยิ่ง
2.7 การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
หลังจากที่มาตรการต่างๆผ่านการอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ผู้ที่ได้รับมอบหมายก็จะมีหน้าที่นำไปปฏิบัติเพื่อหเกิดผลตามกำหนดเวลาที่ระบุ ในระหว่างที่กำลังดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามความก้าวหน้าและเปรียบเทียบกับแผนงาน (%Completion)
เมื่อดำเนินการตามจนแล้วเสร็จตามที่กำหนดแล้ว การติดตามตรวจสอบก็มีความสำคัญโดยเทคนิคที่ใช้กันโดยทั่วไปจะเป็นการสร้าง “แผนภูมิควบคุม (Control Chart) “ ซึ่งมีได้หลายรูปแบบ องค์การสามารถเลือกใช้ตามที่เหมาะสม
รูปแบบที่ 1 แผนภูมิควบคุมแบบธรรมดา เป็นการสร้างแผนภูมิของค่า Parameter ที่ควบคุม โดยในแผนภูมิจะแสดงค่า Upper Control Limit (UCL) และค่า Lower Control Limit (LCL) ไว้เพื่อให้สามารถเห็นได้ชัดเจนว่าช่วงใดที่ค่าเกินจากเกณฑ์ที่ควบคุม (รูปที่ 5.10 ซึ่งแสดงแผนภูมิของข้อมูลในตารางที่ 5.5)
รูปแบบที่ 2 “ Moving Average” Chart หรือแผนภูมิแสดงค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่ง เหมาะสมในกรณีที่สามารถเก็บข้อมูลได้เพียง 1ค่าต่อ 1 ช่วงเวลาที่คงที่ โดยค่าที่นำมาสร้างแผนภูมิจะเป็นค่าเฉลี่ยของค่าที่อ่านได้จำนวน n ตัวอย่างที่คงที่ ตัวอย่างเช่นในกรณีของข้อมูลในตารางที่ 5.5 หากสามารถบันทึกค่าได้เพียง 1 ค่า (สมมติในที่นี้ว่าเป็นค่าที่ 1) และกำหนดให้ใช้ค่าเฉลี่ยของข้อมูลจำนวน 3 ค่า จะได้ว่า ค่าเฉลี่ยแรกจะเกิดตอนเวลา 10:00 น. โดยใช้ค่าของเวลา 8:00 น., 9:00 น. และ 10:00 น. ในการคำนวณซึ่งจะได้เท่ากับ 51.33 ค่าเฉลี่ยลำดับถัดไป จะใช้ค่าของเวลา 9:00 น., 10:00 น. และ 11:00 น. ในการคำนวณซึ่งจะได้เท่ากับ 51.33 เป็นต้น
ความถี่ในการเก็บข้อมูลเพื่อสร้างแผนภูมิขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์กร ตัวอย่างเช่น องค์กรที่มีระบบข้อมูลที่พร้อม การเก็บข้อมูลเป็นไปโดยอัตโนมัติ และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ On Line คำนวณได้ทันที ก็ควรที่จะ Update แผนภูมิทุกๆชั่วโมง สำหรับขั้นตอนที่มีการใช้พลังงานสูงๆ หากแต่ถ้าเป็นองค์กรที่ไม่พร้อม สามารถ Update แผนภูมิวันละครั้งหรือกะละครั้ง อย่างไรก็ตาม ต้องระวังการที่ทิ้งช่วงนานเกินไปอาจทำให้มีการสูญเสียโอกาสที่จะประหยัดพลังงานไปได้
ตารางที่ 2.3 ตัวอย่างข้อมูลที่ใช้ในการแสดงแผนภูมิควบคุม
2.8 การทบทวนผลการดำเนินการ
การตรวจประเมินภายใน (Internal Audit)
ข้อกำหนด : การตรวจประเมิน
องค์กรต้องจัดทำและปฏิบัติตามเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานในการตรวจประเมินระบบการจัดการพลังงานตามช่วงเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ และมีการตรวจประเมินตลอดทั้งองค์กร โดยต้องครอบคลุม ขอบข่าย ความถี่ วิธีการตรวจประเมิน รวมทั้งความรับผิดชอบในการตรวจประเมิน และผู้ตรวจประเมินต้องเป็นบุคคล ที่มีความรู้ความสามารถในการตรวจประเมินระบบการจัดการพลังงานและมีความเป็นอิสระจาก กิจกรรมที่ทำการตรวจประเมิน ซึ่งอาจมาจากบุคคลภายในองค์กรก็ได้ เพื่อตัดสินว่า
(1) ระบบการจัดการพลังงานขององค์กรเป็นไปตามมาตรฐานนี้
(2) องค์กรได้ดำเนินการและบรรลุผลตามนโยบายและการเตรียมการจัดการพลังงาน
(3) แผนการตรวจประเมินขึ้นกับระดับการใช้พลังงานและผลการตรวจประเมินที่ผ่านมา นอกจากนี้ต้องมีการรายงานผลการตรวจประเมิน และส่งให้บุคคลที่ถูกตรวจประเมิน ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่ถูกตรวจประเมินรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการแก้ไข
เพื่อเป็นการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานตามแผน องค์กรควรจัดให้มีคณะผู้ตรวจปรเมินภายในเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน การปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดขึ้น เช่น SOP การบันทึกข้อมูล เป็นต้น
การตรวจประเมินภายในเป็น Impact Findings กล่าวคือ ผู้ตรวจประเมินจะมองหา Evidence ที่แสดงว่าการทำงานเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ ระบบการจัดการพลังงานมีประสิทธิภาพหรือไม่ จะเห็นว่าเป็นข้อมูลประเภท Lag (เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว จึบพบหลักฐาน)
ก่อนการตรวจประเมินแต่ละครั้งควรมีการประชุมเพื่อกำหนดแผนงาน ขอบเขตของการตรวจประเมินไม่จำเป็นต้องครบทั้งองค์กรเสมอไป แต่ต้องมั่นใจว่า เมื่อครบรอบที่กำหนด แต่ละพื้นที่ต้องได้รับการตรวจประเมินตามความถี่ที่กำหนด
ความถี่ของการตรวจประเมินภายในขึ้นกับการกำหนดโดยองค์กร ทั้งนี้ ควรจะทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร (Management Review)
การทบทวนการจัดการ
ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องทบทวนระบบการจัดการพลังงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบการจัดการยังคงมีความเหมาะสม มีความเพียงพอ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยต้องพิจารณาถึง
(1) ผลการดำเนินงานของระบบการจัดการพลังงานทั้งหมด
(2) ผลการดำเนินงานเฉพาะแต่ละข้อกำหนดของระบบการจัดการ
(3) สิ่งที่พบจากการตรวจประเมิน
(4) ปัจจัยภายในและภายนอก เช่น การเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร แนวทางดำเนินงานด้านพลังงานที่มีอยู่ในองค์กร ข้อปฏิบัติและการดำเนินงานที่ดีกว่าซึ่งองค์กรหรือหน่วยงานอื่นได้จัดทำเอาไว้ (Best practice) การแก้ไขตามข้อกำหนดของกฎหมาย การนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ เป็นต้น
นอกจากนี้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องวิเคราะห์ว่าการกระทำใดที่จำเป็นต้องแก้ไขจากข้อบกพร่องของระบบการจัดการพลังงาน องค์กรต้องพิจารณาความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การเตรียมการจัดการพลังงานรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบอื่นๆ ของระบบการจัดการพลังงานโดยพิจารณาจากผลการตรวจประเมินระบบการจัดการพลังงานสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปและเจตจำนงที่จะให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ตามที่ได้ระบุในหัวข้อการจัดตั้งโครงสร้างว่าคณะกรรมการบริหารด้านอนุรักษ์พลังงานมีหน้าที่กำหนดทิศทางการอนุรักษ์พลังงานขององค์กร ดังนั้น จึงต้องมีการทบทวนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานตามความเหมาะสมตามหลักการ PDCA ความถี่ของการทบทวนขึ้นกับการกำหนดโดยองค์กร แต่อย่างน้อยต้องทบทวนปีละ 1ครั้ง
ในระหว่างการทบทวน ผู้จัดการพลังงานมีหน้าที่เสนอผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานที่ผ่านมา ผลการตรวจประเมินภายใน และนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้
1.ชื่อแผนงาน
แผนการจัดการพลังงานโรงเรียนซับบอนวิทยาคม
2.ชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ชนาธิปัตย์ เจริญศักดิ์
3.สถานที่จัดทำ
โรงเรียนซับบอนวิทยาคม
4.วัตถุประสงค์
เพื่อต้องการให้โรงเรียนลดการใช้พลังงานที่สิ้นเปลือง
5. แนวคิดในการจัดทำแผนการจัดการพลังงาน
6.สมมติฐาน
7.ความรู้และทฤษฎี
8.วิธีการดำเนินงาน
8.1ขั้นตอนการสำรวจค้นหาจะสิ้นเปลืองพลังงาน
8.2.1ขั้นตอนการสำรวจค้นหา จะสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช้โมเดลการบริหารจัดการแบบ 4 Ms
Man
Machine
Material
Method
8.2.2ขั้นตอนการสำรวจค้นหาจะสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช้ ใช้หลักการมีส่วนรวมตามหลักธรรมมาภิบาล โดยใช้แบบสอบถาม
แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อการอนุรักษ์ พลังงาน เน้นการมีส่วนร่วม
ลำดัีบ เรื่อง สถานที่ ข้อแนะนำในการแก้ปัญหา
10.ระยะเวลาในการปฎิบัติงาน
ลำดับ เรื่อง ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
11.ขั้นตอนการรวบรวมปัญหา
-แบบสอบถาม
-สำรวจจริงพร้อมถ่ายภาพ
-ถ่ายคลิปวิดีโอ
12.ขั้นตอนการวิเคราะห์และสรุป
-โดยการเปรียบเทียบก่อนและหลังทำ
13.ขั้นตอนการเผยแพร่
-ใช้ Blog
-ใช้ facebook
-ใช้ Youtube
แผนการบริการจัดการ Demming Model
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น