youtube

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงงานสำรวจและการปฏิบัติงาน การประหยัดพลังงาน โรงเรียนซับบอนวิทยาคม

โครงงานสำรวจและการปฏิบัติงาน  การประหยัดพลังงาน  โรงเรียนซับบอนวิทยาคม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  โรงเรียนซับบอนวิทยาคม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๐

๑.ชื่อโครงงาน 
การใช้พลังงานของตู้เย็น
๒.ชื่อผู้จัดทำ
๑.นางสาวณัฐพร  สายแวว เลขที่ ๑๓
    ๒.นางสาวพิชญา  พิมพ์พรมมา เลขที่ ๑๘
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๔/๑
โรงเรียนซับบอนวิทยาคม
๓.ครูที่ปรึกษา
๑.นายวีรชาติ  มาตรหลุบเลา
๒.นางสาววีรนุช  หล้าน้อย
๔.วัตถุประสงค์การจัดทำโครงงาน
๑.เพื่อให้ประหยัดพลังงาน
        ๒.เพื่อลดการใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองในโรงเรียน
๓.เพื่อรณรงค์ใช้พลังงานทดแทน
๔.เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำโครงงาน
๕.สมมุติฐาน  ของการทำโครงงาน
๑.เราไม่ควรเปิดไฟทิ้งไว้เมื่อไม่มีคนอยู่มันจะทำให้เสียพลังงานอย่างสิ้นเปลือง
๒.การเปิดปิดตู้เย็นบ่อยๆครั้ง ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน
๖.หลักการและเหตุผล
               ที่ต้องการทำโครงงานนี้ก็เพื่อลดค่าไฟภายในโรงเรียนเนื่องจากเดือนที่แล้วค่าไฟใน            โรงเรียนสูงมาก เราจึงอยากลดค่าไฟในโรงเรียนให้เหลือพอประมาณ อย่างเช่น เครื่องทำน้ำเย็น ว่าเราควรกำหนดเวลา ปิด เวลาเปิด เช่นเปิด ๐๘.๓๐-๑๓.๒๐ น.อย่างนี้เป็นต้น
๗.แนวความคิดในการประหยัดพลังงาน
๑.อย่าเปิดตู้เย็นบ่อยๆครั้ง
๒.ไม่ควรนำของร้อนไปแช่ตู้เย็น
๓.ควรตั้งตู้เย็นห่างจากผนังประมาณ ๑๕ เซนติเมตร
  ๘.ความรู้แลทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงาน (บทเอกสาร)
๘.๑การคำนวณค่าไฟฟ้า
                  ตู้เย็น
Unit = 100 วัตต์ x 4 เครื่อง x 24 ชั่วโมง/วัน
            1000
               =9.6 หน่วย
     รวมหน่วยไฟที่ใช้งาน
1 วัน = 9.6 x 1.3576 = 13.20 บาท
1 เดือน = 13.20 x 30 = 396 บาท
                   13.20 x 31 = 409  บาท
๙.ขั้นตอนและวิธีการสำรวจ  สาเหตุของการสิ้นเปลืองพลังงาน
๙.๑สำรวจ สาเหตุของการสิ้เปลืองพลังงาน โดยใช้โมเดลการบริหารจัดการพลังงาน 4 Ms
๙.๑.๑ man (ความสิ้นเปลืองพลังงานที่มีสาเหตุจากคน)
๑.การเปิดไฟทิ้งไว้
๒.การเปิดตู้เย็นบ่อยๆครั้ง
๓.การเปิดพัดลมทิ้งไว้
๙.๑.๒ machine (ความสิ้นเปลืองพลังงานที่มีสาเหตุจากเครื่องจักร)
๑.ตู้ทำน้ำเย็น
๒.ตู้เย็น        
๓.แอร์หรือเครื่องปรับอากาศ
๔.หลอดไฟและพัดลม
๙.๑.๓ material(ความสิ้นเปลืองพลังงานที่มีสาเหตุจาก วัสดุ อุปกรณ์)
๑.ปลั๊กไฟ
๒.ก๊อกน้ำ
๒.ก๊อกน้ำ
๓.สวิตไฟ
     ๔.timemer
๙.๑.๔ method(ความสิ้นเปลืองพลังงานที่เกิดจากวิธีการใช้งานหรือขั้นตอนใช้งาน)
ตู้เย็น : เราไม่ควรเปิดปิดตู้เย็นบ่อยๆครั้งและควรปรับพลังงานตู้เย็นให้เหลือเพียง
๑.๕ องศาหรือไม่ก็เหลือตู้เย็นไว้เพียง ๒ เครื่องเพราะจะทำให้ไม่สิ้นเปลืองพลังงานเยอะ
๑๐.แบบสอบถามข้อเสนอแนะเพื่อการประหยัดพลังงานโดนเน้นการมีส่วนร่วม
    ๑๐.๑ท่านมีข้อเสนอแนะในเรื่องการประหยัดพลังงานในโรงเรียนซับบอนวิทยาคมอย่างไรบ้าง
ลำดับ
เรื่อง
สถานที่
ข้อเสนอแนะ
1.
การใช้ตู้เย็น 4เครื่อง
ห้องคหกรรม
ห้องธุรการ
ห้อง ผอ
ห้องรอง

เราไม่ควรเปิดตู้เย็นบ่อยๆ ครั้งและไม่ควรตั้งอุณหภูมิที่สูง



๑๑.วิเคราะห์และสรุปผลของโครงงาน

ปัญหา  คือ 

๑. มีตู้เย็นหลายเครื่อง

๒.เปิดตู้เย็นตลอด ๒๔ ชั่วโมง

วิธีแก้ไข

 ๑.เราควรใช้ตู้เย็นเพียง ๒ เครื่อง

๒.ไม่ควรเปิด ปิดตู้เย็นบ่อยครั้ง

Plan
5 W 1H
ลำดับที่
what
where
when
why
who
How

เรื่อง/ประเด็น
 ที่ก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงาน
  สถานที่ที่ก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงาน

ช่วงเวลา
สาเหตุของปัญหา
ที่ก่อให้เกิดการ
สิ้นเปลืองพลังงาน
ผู้รับผิดชอบ/
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
แนวทางการแก้ไข       ปัญหา
1.
เปิด ปิดตู้เย็นบ่อยๆครั้ง
ห้องคหกรรม
ห้องธุรการห้อง
ผู้อำนวยการ
ห้องรองผู้อำนวยการ
24 ชั่วโมง
การใช้ตู้นเย็นบ่อยๆครั้งและใช้ตู้เย็นหลายเครื่อง
ใช้ตลอด 24 ชั่วโมง
ครู และแม่บ้าน
ห้ามเปิดตู้เย็นบ่อยๆครั้งและอย่าใช้ตู้เย็นหลายเครื่อง


plan
วัตถุประสงค์ในการดำ
เนินงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากวิธีการแก้ปัญหา
กลุ่มเป้าหมาย/สถานที่เป้าหมาย
วิเคราะห์โอกาสความเป็นไปได้
/การบรรลุงานของแผนงาน
วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค
1.การลดรายจ่ายของโรงเรียน
2.เพื่อศึกษาโครงงานและนำเสนอ
3.เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียนประหยัดพลังงาน
1.ได้ความรู้จากการทำโครงงาน
2.รายจ่ายของโรงเรียนลดลง
ในโรงเรียน
1.ห้องคหกรรม
2.ห้องธุรการ
3.ห้องผู้อำนวยการ
4.ห้องรองผู้อำนวยการ
เป็นไปได้เพราะมีแค่แม่บ้านและครูใช้ตู้เย็น
1.ไม่มีคนประชาสัมพันธ์เรื่องการอนุรักษ์พลังงานในโรงเรียน

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

พลังงาน

พลังงาน
พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ในโลกปัจจุบันและทวีความสำคัญขึ้นเมื่อโลกยิ่งพัฒนามากยิ่งขึ้น แหล่งพลังงานค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นแหล่งพลังงานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตมากยิ่งขึ้น จากน้ำมันปิโตรเลียมไปเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานหลายประเภทด้วยกัน แต่อาจจะมีในปริมาณค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ บางครั้งวิกฤตการณ์ของโลกอาจจะทำให้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยยังต้องมีการสั่งน้ำมันเข้าเป็นจำนวนมาก
ภาพการเติมน้ำมันเชื้อเพลิง
1. น้ำมันปิโตรเลียม
ประเทศไทยมีน้ำมันปิโตรเลียมในแหล่งต่าง ๆ ที่พิสูจน์แล้วไม่น้อยกว่า 174 ล้านบาร์เรล ได้แก่ น้ำมันจากอ่าวไทย (เช่น แหล่งเอราวัณ แหล่งสตูล) อำเภอฝาง และแหล่งสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชร และคาดว่าจะต้องค้นพบอีกหลาย ๆ แห่ง เช่น บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี สุราษฎ์ธานี ซึ่งคาดว่าจะพบอีกไม่น้อยว่า 100 ล้านบาร์เรล เนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยามีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นแอ่งสะสมน้ำมันปิโตรเลียม ในปัจจุบันประเทศไทยยังต้องสั่งเข้าน้ำมันปิโตรเลียมเป็นอัตราส่วนสูง เนื่องจากการผลิตในประเทศไทยยังต่ำกว่าปริมาณการใช้มาก การขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม จะก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ ผลที่จะเกิดขึ้นอาจจะมาจากวัสดุที่ใช้หล่อลื่นในการขุด (Drilling fluid) การระบายน้ำเค็ม ที่มีความเค็มสูงมากจากหลุมเจาะ และมีสารบางประเภทที่เป็นพิษปะปนออกมาด้วย เช่น ปรอท แคดเมียม โครเมียม เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วการจัดการกับบ่อภายหลังสิ้นสุดการนำน้ำมันปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ก็มีความสำคัญต่อสภาพความมั่นคงของพื้นที่ที่อยู่โดยรอบบ่อน้ำมัน
2. ก๊าซธรรมชาติ
นับเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบันปริมาณของก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยที่พิสูจน์แล้วทั้งหมดมากกว่า 100 พันล้านลูกบาศก์เมตร และโอกาสที่จะพบเพิ่มเติมมีโอกาสสูงมากโดยเฉพาะในบริเวณอ่าวไทยซึ่งการผลิตก๊าซธรรมชาตินั้น สามารถนำมาผลิตเป็นมีเธน อีเทน และแอลพีจี ซึ่งใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับไฟฟ้าเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มและยานพาหนะ ก๊าซธรรมชาติเมื่อผ่านเข้ากระบวนการผลิตจะแยกได้ผลพลอยได้อย่างหนึ่งปนมากับก๊าซที่อยู่ในรูปของละอองน้ำมัน เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนเบนซินธรรมชาติ สามารถนำไปผสมกับน้ำมันดิบ เพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินได้ นอกจากนั้นแล้วในแหล่งต่าง ๆ ในอ่าวไทย ยังมีก๊าซธรรมชาติเหลวปะปนอยู่ในแอ่งก๊าซธรรมชาติด้วย ดังนั้นก๊าซธรรมชาติจึงนับว่าเป็นแหล่งพลังงานของประเทศไทยที่มีความสำคัญ ส่วนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการดำเนินการเพื่อขุดเจาะและผลิตน้ำมันปิโตรเลียม
3. ถ่านหินลิกไนต์
ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินลิกไนต์รวมทั้งหมด 72 แหล่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือและภาคใต้ แอ่งที่จัดว่ามีปริมาณถ่านหินลิกไนต์มากได้แก่ แอ่งแม่เมาะ แอ่งกระบี่ ซึ่งได้มีการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า นับเป็นเวลานานแล้ว ส่วนแหล่งอื่น ๆ ที่สำรวจแล้วแต่ยังไม่มีการดำเนินการเพื่อนำถ่านหินมาใช้ ได้แก่ แอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา แอ่งสินปุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นับว่าเป็นแหล่งที่มีถ่านหินลิกไนต์สะสมเป็นจำนวนมหาศาล การใช้ประโยชน์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะผลิตกระแสไฟฟ้า ยกเว้นเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ที่มีเอกชนเข้ามาเปิดดำเนินการ เพื่อนำถ่านหินลิกไนต์ไปใช้ประโยชน์ให้ความร้อนในทางอุตสาหกรรม หากประเทศไทยมีการใช้ถ่านหินปีละประมาณ 50 ล้านตัน เมื่อเทียบอัตราการใช้ในปัจจุบันแล้ว อายุการใช้ถ่านหินของประเทศไทยจะใช้งานได้ประมาณ 25 ปี นับว่าเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของประเทศ การนำแร่ถ่านหินลิกไนต์มาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมได้ ในอากาศจะมีปริมาณของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่สลายออกจากถ่านหินเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านฝนกรดได้ ส่วนการทำเหมืองจะก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ โดยเฉพาะน้ำบาดาล ซึ่งจะเป็นปัญหาที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ภาพกังหันลม
4. พลังน้ำ
การผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยพลังน้ำ โดยการสร้างเขื่อนนั้น เป็นวิธีการซึ่งให้ได้มาซึ่งพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์ โดยหลักแล้วเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนแรกได้แก่ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และต่อมาเขื่อนก็ถูกสร้างขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุดรดิตถ์ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น พลังน้ำจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าในราคาต้นทุนต่ำ แต่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ควรคำนึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสูญเสียเนื้อที่ป่าเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อใช้เป็นอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ราษฎรในพื้นที่น้ำท่วมจึงจะต้องอพยพย้ายที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ สัตว์ป่าต่าง ๆ จะสูญเสียที่อยู่อาศัยหรืออาจจะสูญพันธุ์ไปโดยไม่สามารถป้องกันได้ เพราะการอพยพสัตว์ป่าออกจากพื้นที่น้ำท่วมนั้น ไม่สามารถจะโยกย้ายสัตว์ได้ทันทุกชนิด นอกจากนั้นแล้ว แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่อาจจะถูกทิ้งให้จมอยู่ใต้น้ำ โดยไม่มีโอกาสนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ของประเทศ ทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่สามารถจะประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้ซึ่งถ้าหากกระทำได้แล้วอาจจะทำให้ต้นทุนของการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงโดยพลังน้ำ จะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยวิธีอื่น ๆ
5. ไม้และถ่าน
แหล่งพลังงานของประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่ได้จากชีวมวล อันได้แก่ ไม้ฟืนและถ่าน แต่การใช้ป่าไม้เพื่อผลิตพลังงานนั้น จะก่อให้เกิดการทำลายป่าไม้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกที่ได้มีการหวั่นวิตกอยู่ในปัจจุบัน การนำไม้มาใช้เพื่อเป็นแหล่งความร้อนและพลังงานทำให้ป่าปกคลุมโลกประมาณร้อยละ 20 ลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ดังนั้น จึงเป็นการก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย และจะต้องใช้พื้นที่อย่างกว้างขวางเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มกับหน่วยความร้อนที่จะได้ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบต่อหน่วยพื้นที่ นอกจากนั้นแล้วจะต้องมีการปลูกพืชขึ้นมาทดแทนอยู่ตลอดเวลา จึงถือว่าไม้และถ่านเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่น่าจะพัฒนาให้มีการใช้ในโลกปัจจุบัน
6. พลังงานรังสีอาทิตย์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่จะได้รับรังสีอาทิตย์เฉลี่ยประมาณวันละ 17 เมกะจูลต่อตารางเมตร ซึ่งประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากรังสีอาทิตย์มานานตั้งแต่ในอดีต เช่น การผลิตเกลือจากน้ำทะเล การตากผลิตผลทางเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่ยังมิได้ประเมินปริมาณรังสีอาทิตย์ที่ประเทศได้ใช้ในแต่ละปี ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อนำรังสีอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น และสามารถจะเก็บสะสมไว้ในรูปของเซลความร้อนที่จะสามารถเรียกใช้ได้ตามเวลาที่ต้องการ นอกจากพลังงานจากรังสีอาทิตย์แล้ว ที่เป็นแหล่งพลังงานจากระบบสุริยจักรวาลอีกอย่างได้แก่ พลังงานลมและพลังงานกระแสน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งในขณะนี้ในประเทศไทยได้เริ่มทำการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะพลังงานลมได้มีสถานีสาธิตและประเมินความเหมาะสมที่จังหวัดภูเก็ต
ภาพหลอดประหยัด
7. พลังงานนิวเคลียร์
ประเทศอุตสาหกรรมใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการใช้พื้นที่น้อยให้ปริมาณความร้อนสูง และเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะไม่ได้รับอิทธิพลจากองค์ประกอบนอกระบบ เนื่องจากระบบการผลิตเป็นการควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติแม้แต่ประเทศต่าง ๆ ในเอเซียด้วยกันยังมีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ เช่น ไต้หวัน มาเลเซีย ปัจจุบันกำลังไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์รวมกันประมาณร้อยละ 20 ของกำลังผลิตของโลก ประเทศไทยได้เคยทำการศึกษาความเหมาะสมเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่อ่าวไผ่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แต่ปัจจุบันยังไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แต่อย่างใด เนื่องจากมีความไม่มั่นใจในมาตรการป้องกันผลเสียหายที่จะเกิดจากโรงไฟฟ้า การใช้พลังงานนิวเคลียร์อาจจะมีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ เช่น การกำจัดกากเชื้อเพลิง ซึ่งจะต้องมีสถานที่ที่เหมาะสม อาจจะเป็นในทะเลลึกโดยฝังในชั้นหินที่ไม่ซึมน้ำ หรือการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้า แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถที่จะป้องกันแก้ไขได้โดยการวางแผนและการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ประเทศไทยจึงควรพิจารณาการใช้พลังงานนิวเคลียร์ไว้เป็นทางเลือกสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในอนาคตแทนการสร้างเขื่อนซึ่งอาจจะมีปัญหาการใช้พื้นที่ หรือการใช้ถ่านหินที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบมลพิษด้านอากาศ
8. หินน้ำมัน
หินน้ำมันในประเทศไทยจากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า มีการสะสมตัวเป็นจำนวนมากในบริเวณจังหวัดตาก ซึ่งประเมินปริมาณสำรองเบื้องต้นประมาณ 21,000 ล้านตัน โดยจะมีน้ำมันดิบปะปนอยู่ประมาณ 6,700 ล้านบาร์เรล ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว ปริมาณน้ำมันที่สะสมอยู่ในชั้นหินของประเทศไทยค่อนข้างต่ำ โดยเฉลี่ยแล้วร้อยละ 28 อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีของการแยกน้ำมันออกจากหินน้ำมันยังไม่ก้าวหน้าเพียงพอทำให้อัตราการคืนตัวต่ำ ในขณะเดียวกับราคาต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง ทำให้ศักยภาพของการนำหินน้ำมันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานในอนาคตค่อนข้างต่ำ และไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตน้ำมันปิโตรเลียมปัจจุบัน





ที่มา : รวบรวมจากหนังสือความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม   กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม